วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรื่อง คุณลักษณะของวิทยุในการสอนและการวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ วิทยุประกอบการสอน

รายการเพื่อการสอน เป็นรายการที่ผลิตขึ้นเพื่อการสอนตามหลักสูตรในระดับใดระดับหนึ่ง รายการมีลักษณะเป็นบทเรียน แบ่งเป็นตอน ๆ มีวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ และมีการวัดผลการเรียนจากการชมรายการด้วย อาจจัดได้เป็น 3 ลักษณะคือ
- รายการทำหน้าที่สอนทั้งหมด เป็นรายการที่สอนเบ็ดเสร็จในตัว ทำหน้าที่แทนครู
- รายการทำหน้าที่สอนเนื้อหาหลัก เป็นรายการที่สอนเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญต้องอาศัยครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ อธิบาย ขยายความ หรือให้ทำกิจกรรมเสริม
- รายการทำหน้าที่เสริมการสอน เป็นรายการที่จัดขึ้น เพื่อเสริมการสอนของครูให้สมบูรณ์ขึ้น เช่น การแสดงละคร การสาธิต หรือการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
รูปแบบการจัดรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1) รายการสดที่จัดขึ้นในห้องส่ง แล้วถ่ายทอดออกอากาศโดยตรง รายการ ลักษณะนี้อาจมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นได้
2) รายการถ่ายทอดสดจากภายนอก ส่วนมากเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในสังคม และประชาชนส่วนใหญ่สนใจ
3) รายการที่บันทึกเทปไว้ล่วงหน้า เฉพาะสำหรับรายการที่ต้องเตรียมการล่วงหน้า และต้องการควบคุมเพื่อป้องกันความผิดพลาด
4) รายการจากภาพยนตร์โทรทัศน์ ได้แก่ภาพยนตร์ข่าว บันเทิง สารคดี ฯลฯ ซึ่งนำมาฉายแพร่ภาพออกอากาศ
การวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการนำภาษาพูดจากรายการวิทยุโทรทัศน์มาใชในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น และสำรวจความคิดเห็นของครูประจำชั้นเกี่ยวกับ การใช้ภาษาพูดในรายการวิทยุโทรทัศน์ของนักเรียนดังกล่าว ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2,472 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2533 ของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น และครูประจำชั้นจำนวน 53 คน จากทั้งหมด 23 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียน 80 คน และครู 28 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจการชมรายการวิทยุโทรทัศน์ที่นักเรียนชอบดูเป็นประจำ และโฆษณาที่นักเรียนเห็นที่บ่อยที่สุด ก่อนบันทึกรายการดังกล่าวลงในเทปโทรทัศน์เพื่อนำไปศึกษาภาษาพูด นอกจากนี้ผู้วิจัยจึงได้สร้างแบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูประจำชั้นเกี่ยวกับ การใช้ภาษาพูดในรายการวิทยุโทรทัศน์ของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS/PC+) เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละในการใช้ คำ สำนวนและข้อความโฆษณาในรายการวิทยุโทรทัศน์ ได้วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามความคิดเห็นของครูประจำชั้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. คำ กลุ่มคำ สำนวนและข้อความโฆษณาที่นักเรียนเคยได้ยินมากที่สุด ตามลำดับมีดังนี้ จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน หน้าแตกยับเยิน เพลงโฆษณาเอ็มร้อยและโค้ก สำหรับที่นำไปใช้พูดมากที่สุด ตามลำดับ ดังนี้ อย่าหนีนะ หน้าแตกยับเยินและเพลงโฆษณาเอ็มร้อยและที่นักเรียนนำไปใช้พูดกับพ่อแม่มากที่สุด ดังนี้ สวดมนต์ ตื่นเต้นจนนอนไม่หลับและโค้กตามลำดับ ส่วนที่นำไปใช้พูดกับเพื่อนมากที่สุด ตามลำดับ ดังนี้ จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน ดูถูก หน้าแตกยับเยิน และเซเว่นอัพ และที่นำไปใช้พูดกับบุคคลอื่นมากที่สุด คือ สวดมนต์ หน้าแตกยับเยินและเบบี้ มายด์ ตามลำดับ ซึ่งบุคคลอื่นส่วนมากได้แก่ ญาติพี่น้อง นอกจากนี้ภาษาพูดที่นักเรียนเข้าใจความหมายมากที่สุด ได้แก่ จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน ขอบอกขอบใจ และโค้ก ตามลำดับ
2. ครูประจำชั้นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาพูด ในรายการวิทยุโทรทัศน์ของนักเรียนที่อยู่ในระดับมาก คือนักเรียนได้รับคำศัพท์หรือสำนวนใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น และสามารถถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นคำพูดที่สื่อความหมายได้เข้าใจ มีการเน้นคำหรือใจความสำคัญการใส่อารมณ์และความรู้สึกลงไปในน้ำเสียง ตลอดจนการพูดที่ถูกกาลเทศะและบุคคลในส่วนที่วิทยุโทรทัศน์ทำได้ในระดับปานกลาง คือการพูดที่ถูกต้องชัดถ้อยชัดคำ การแบ่งวรรคตอนในการพูดที่ถูกต้องเหมาะสม การใช้ภาษาโลดโผน คำสแลง การสร้างคำหรือสำนวนใหม่ ๆ ที่ทำให้ภาษาวิบัติ การออกเสียงตัว ร ล และตัวควบกล้ำชัดเจน มีการส่งเสริมพัฒนาทางการพูดให้ถูกต้อง รวดเร็ว ทำให้นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์ได้อย่างมีเหตุผล ตลอดจนมีส่วนช่วยในการสื่อสารระหว่างนักเรียนกับนักเรียนหรือครูดีขึ้น
ความสำคัญของรายการวิทยุกระจายเสียง
วิทยุกระจายเสียงนับเป็นสื่อมวลชนแขนงหนึ่ง ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ารายการโทรทัศน์ เนื่องจากการส่งข่าวสารความรู้ไปสู่ประชาชนได้ไกลกว่าและรวดเร็วกว่าสื่อมวลชนอื่นๆ แม้นในสถานที่ทุรกันดาร กอปรกับราคาเครื่องรับวิทยุมีราคาถูก น้ำหนักเบา ตามเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถเคลื่อนย้ายติดตัวไปได้ง่ายกว่าเครื่องรับโทรทัศน์ และขณะที่ฟังรายการก็สามารถปฏิบัติภารกิจอื่นได้ไปพร้อมๆกัน รายการวิทยุมีอิทธิพลในการโน้มน้าวความคิดเห็นให้คล้อยตามได้ง่าย เนื่องจากการเสนอจินตนาการที่กว้างไกลได้มากกว่าการดูรายการโทรทัศน์ที่ถูกจำกัดในเรื่องของภาพและฉาก

หลักการเขียนบทรายการวิทยุกระจายเสียง ประเภทข่าว
องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำเสนอข่าวทางวิทยุกระจายเสียงมีความเหมาะสมกับ ผู้ฟังคือ “การเขียนบท” ซึ่งจะต้องเขียนให้สอดคล้องกับลักษณะและธรรมชาติของวิทยุกระจายเสียง โดยคำนึงถึงการใช้ภาษาและวิธีการเสนอที่เหมาะสม โดยทั่วไปจะยึดหลักการเช่นเดียวกับการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ แต่วิทยุกระจายเสียงมีข้อจำกัดด้านเวลาจึงมักเขียนในลักษณะเน้นความนำ (lead) และเนื้อข่าว (body) ไว้รวมกัน และมีข้อควรคำนึงที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
1. การเขียนข่าวเพื่ออ่านทางวิทยุกระจายเสียง ต้องกระจ่างชัด ฟังง่าย เข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน วกวน หรือยืดยาว ประโยคแต่ละประโยคควรมีแนวความคิดเดียว เป็นประโยคสั้นๆ ที่มีความหมายจบในประโยคนั้น แต่เพื่อความน่าฟังควรจะสลับกับประโยคยาวบ้าง ตามแต่ความสำคัญของใจความ
2. หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดซ้ำๆ กัน คำที่มีเสียงคล้ายๆ กัน เพราะจะทำให้ฟังลำบาก ถ้า จำเป็นต้องใช้ให้หาคำอื่นที่มีความหมายอย่างเดียวกันแทน เพื่อช่วยให้ฟังได้ง่ายขึ้น
3. การยกข้อความหรือคำพูดของผู้ใดผู้หนึ่งมากล่าวในการเขียนข่าวทางวิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้ฟังไม่สามารถทราบได้ว่าข้อความนั้นอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ ดังนั้นจึงต้องเขียนให้ชัดเจนว่าคำพูดนั้นๆ ประโยคนั้นๆ เป็นคำพูดของใคร จึงควรถอดเครื่องหมายอัญประกาศออก แล้วเรียบเรียงประโยคเสียใหม่ เปลี่ยนสรรพนามจากบุรุษที่หนึ่งเป็นบุรุษที่สาม หรือเอ่ยชื่อบุคคลนั้นๆ ออกมาให้ชัดเจน
4. ไม่ควรประหยัดคำจนเกินไป เพราะอาจทำให้เข้าใจไขว้เขวได้ การใช้คำย่อย่อมไม่เป็นการอำนวยความสะดวกทั้งแก่ผู้อ่านและผู้ฟัง ผู้อ่านอาจอ่านผิดพลาดได้ง่าย ผู้ฟังก็อาจฟังผิดเพี้ยนสับสนได้ง่ายเช่นกัน ตัวย่อที่ใช้กันอยู่จนเป็นที่ยอมรับมักเป็นตัวย่อของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานที่ใช้ตัวย่อจนเป็นที่รู้จักดี และใช้กันจนเป็นที่รู้จักทั่วไปเท่านั้น
5. การเขียนชื่อเฉพาะ ชื่อที่อ่านยากๆ ศัพท์บางคำที่ไม่คุ้นตา ควรวงเล็บคำอ่านไว้ให้ ชัดเจน เช่น เสวก (สะ-เหวก) รังควร (รัง-คะ-วอน) เป็นต้น
6. การเขียนตัวเลขต้องเขียนให้ผู้อ่านไม่สับสน ตามหลักสากล เลขต่ำกว่า 10 เขียนเป็นตัวหนังสือ ยกเว้น วันที่ เลขที่บ้าน ลำดับที่ เวลา อายุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น