วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เสียงประกอบในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง (Sound effect)

แหล่งของเสียงประกอบส่วนใหญ่ คือ แผ่นเสียง เทป และแผ่นซีดี ที่ผลิตจากต่างประเทศและนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย นอกจากจะเป็นเสียงประกอบสำเร็จรูปแล้ว อาจจะมาจากเสียงในภาพยนตร์ (Sound Track) การใช้เสียงประกอบจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการจัดทำบทรายการเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงทำการคัดเลือกจากแผ่นสำเร็จรูปที่มีอยู่ หรือบางกรณีเสียงประกอบบางอย่างไม่มี หรือไม่เหมาะสมกับรายการ หรือไม่สมจริงตามวัฒนธรรมไทย ผู้ผลิตรายการสามารถผลิตและกำกับเสียงประกอบในรายการขึ้นมาเองก็ได้ ซึ่งการผลิตเสียงประกอบทำได้ 2 ลักษณะคือ
1. การผลิตเสียงประกอบนอกห้องบันทึกเสียง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ
a. การบันทึกจากเหตุการณ์จริงๆ โดยไม่มีการควบคุม หรือกำกับ เช่น เสียงการจราจร เสียงในตลาดสด เสียงการจลาจล เสียงเชียร์ในสนามฟุตบอล ไม่ควรนั่งใกล้หรือร่วมกับคนดูคนอื่นๆ ควรใช้ไมค์ที่มีการรับเสียงในมุมกว้าง หรือนั่งไกล เพื่อให้ได้ยินเสียงมุมกว้างทั้งหมด การบันทึกเสียงประกอบลักษณะนี้ต้องเลือกไมโครโฟนให้เหมาะสม เพราะจะทำให้ได้เสียงที่เฉพาะจุดเกินไปไม่สมจริงได้
b.การบันทึกจากเหตุการณ์จริงโดยอาศัยเครื่องบันทึกเทปกระเป๋าหิ้ว (Portable recorder) เช่น เสียงไก่ หมู เป็ดในฟาร์ม ต้องมีการควบคุมกำกับไม่ให้มีเสียงอื่นเข้ามาแทรก
2.การผลิตเสียงประกอบในห้องบันทึกเสียง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
a. การผลิตเสียงประกอบเตรียมไว้ก่อน เพื่อป้องกันการบันทึกเสียงประกอบซ้ำแล้วซ้ำอีก และสามารถตรวจสอบเสียงประกอบสำหรับการแก้ไขได้ การเตรียมเสียงประกอบไว้ก่อนจะอาศัยคนแสดง จำนวนหนึ่งไม่เกิน 4 – 5 คน และอุปกรณ์ประกอบ Mr. Frank Robert Brookes อดีตผู้ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงของสถานีวิทยุ



เทคนิคการจัดรายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียง
การวิจัยเรื่อง “เทคนิคการจัดรายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียง” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งศึกษาเทคนิคการจัดรายการเพลง เปรียบเทียบเทคนิคการจัดรายการเพลง และเพื่อวิเคราะห์เทคนิคการจัดรายการเพลงแต่ละรูปแบบทางวิทยุกระจายเสียง โดยใช้การบันทึกเทปรายการและการสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกเทปรายการเพลงประเภทยอดนิยมร่วมสมัยและรายการเพลงร่วมสมัยจำนวน 6 คลื่นความถี่ ในเวลา 8.00-9.00 น. 13.00-14.00 น. และ 21.00-22.00 น. เป็นระยะเวลา 1 เดือน และเก็บรวบรวมโดยการสัมภาษณ์ผู้ดำเนินรายการเพลงจำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. เทคนิคการจัดรายการเพลงประเภทรายการเพลงร่วมสมัยและรายการเพลงยอดนิยมร่วมสมัย การพูดเปิดรายการไม่มีรูปแบบที่แน่นอน แต่ดีเจจะพูดเปิดรายการด้วยความหลากหลายไม่ซ้ำกัน พูดเปิดรายการด้วยทัศนคติที่ดี รวมทั้งพูดเปิดรายการด้วยความสุภาพและสดใส การพูดเข้าเพลงจะพูดเข้าเพลงด้วยความหลากหลายที่มาจากข้อมูลเนื้อหาของเพลง จากเนื้อหาสาระข่าวสาร และจากน้ำเสียงของดีเจ ไม่พูดทับเนื้อร้อง และไม่พูดข้อมูลทั้งหมดในครั้งเดียว การเปิดสายสนทนาหรือเล่นเกมส์กับผู้ฟังจะมีการทักทายกับผู้ฟังเป็นคำถามสั้นๆ ก่อน เล่นเกมส์หรือสนทนากับผู้ฟังด้วยความเป็นกันเอง ควบคุมเวลาให้สั้นกระชับเข้าประเด็นเร็วที่สุด รู้จักการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะสนทนาหรือเล่นเกมส์ ให้เกียรติคนฟัง รวมทั้งพูดภาษาเดียวกับผู้ฟัง การพูดเนื้อหาสาระในรายการดีเจจะนำเนื้อหาสาระที่มีความน่าสนใจ ทันสมัยและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมานำเสนอโดยพูดเป็นภาษาของตัวเองด้วยความกระชับ ในลักษณะเหมือนสนทนากับผู้ฟัง และบอกที่มาของเนื้อหาสาระด้วย การพูดเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเพลง ดีเจจะนำเนื้อหาเกี่ยวกับเพลงและข้อมูลของศิลปินทั้งที่เกี่ยวกับเพลงและที่ไม่เกี่ยวกับเพลงมาพูดเป็นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเพลงที่เปิดจบแล้วหรือกำลังจะเปิดต่อไป โดยพูดข้อมูลทีละประเด็นในแต่ละครั้ง ไม่ควรพูดข้อมูลทั้งหมดในคราวเดียวกัน การพูดลารายการ ดีเจจะพูดลารายการอย่างสั้นกระชับได้ใจความและพูดลารายการอย่างอารมณ์ดี 2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคการจัดรายการเพลงประเภทรายการเพลงยอดนิยมร่วมสมัย (Contemporary Hit Radio,CHR) กับรายการเพลงร่วมสมัย(Adult Contemporary Radio, AC)พบว่า เนื้อหาที่นำมาพูดเปิดรายการ พูดเข้าเพลง เปิดสายสนทนาหรือเล่นเกมส์กับผู้ฟัง พูดเนื้อหาสาระในรายการการ พูดเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเพลง และพูดลารายการ ผู้ดำเนินรายการจะนำเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันมาพูดคือเรื่องที่มีความน่าสนใจ แต่จะแตกต่างกันที่ลักษณะการนำเสนอของดีเจคือรายการเพลงประเภทเพลงยอดนิยมร่วมสมัยจะพูดในลักษณะที่คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ตื่นตัว ร่าเริง สนุกสนาน ครื้นเครง ในขณะที่รายการเพลงร่วมสมัยจะพูดในลักษณะอบอุ่น นุ่มนวล 3. ผลการวิเคราะห์เทคนิคการจัดรายการเพลง พบว่า เนื้อหาสาระที่นำมาพูดหรือนำมาเสนอในรายการ ดีเจสามารถนำเนื้อหาเกี่ยวกับรายการ เนื้อหาทั่วๆ ไป เนื้อหาสาระเกี่ยวกับเพลงและศิลปิน โดยเนื้อหาเหล่านี้ต้องน่าสนใจ เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายของรายการ สิ่งเหล่านี้ดีเจนำมาพูดในรายการได้ในลักษณะที่เป็นภาษาหรือสไตล์ของตัวเองด้วยความกระชับ วิธีการนำเสนอดีเจควรพูดหรือนำเสนอด้วยความหลากหลาย ไม่ซ้ำกัน ข้อมูลต่างๆ ที่ดีเจมีไม่ควรจะพูดทั้งหมดในคราวเดียวกัน ดีเจต้องไม่พูดทับเพลง กรณีรับสายหน้าไมค์ดีเจควรต้องทักทายกับผู้ฟังก่อนเพื่อคลายความตื่นเต้น แล้วค่อยเข้าประเด็นที่จะสนทนาหรือเล่นเกมส์ให้เร็วที่สุด กรณีเล่นเกมส์หากคนฟังตอบไม่ได้ ดีเจสามารถช่วยโดยการบอกใบ้คำตอบ และดีเจควรต้องตัดสายอย่างนุ่มนวลเป็นไปด้วยความสุภาพเมื่อมีแนวโน้มว่าจะใช้เวลามากเกินไปจากที่กำหนด ลักษณะการพูด ดีเจควรพูดหรือดำเนินรายการโดยให้สอดคล้องกับรูปแบบของรายการ พูดในลักษณะที่เป็นกันเองกับผู้ฟัง พูดเป็นภาษาของตัวเอง พูดในลักษณะสั้นกระชับ พูดด้วยความสุภาพสดใส พูดโดยให้เกียรติคนฟัง และพูดภาษาเดียวกับผู้ฟัง ความคิดหรือทัศนคติ ดีเจควรต้องมีมุมมองหรือทัศนคติที่ดี เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ ในแง่มุมที่ดีให้แก่คนฟัง การแก้ปัญหา เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นในขณะดำเนินรายการ ดีเจควรต้องแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที เช่นกรณีรับสายหน้าไมค์ คนฟังพูดมากเกินไป พูดน้อยเกินไป พูดไม่ตรงประเด็น ดีเจจะต้องตัดสายด้วยความสุภาพ รวมถึงการแก้ปัญหาอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในขณะจัดรายการ




กระบวนการผลิตรายการ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ โดยสามารถสรุป แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
1. ขั้นเตรียมการหรือขั้นก่อนการผลิต (Preparation or Pre-production)2. ขั้นออกอากาศหรือขั้นการผลิตรายการ (On air or Production)
3. ขั้นหลังการผลิตรายการ (Post-production)
การวางแผนการผลิตรายการ การดำเนินงาน จะมีลักษณะเป็นรูปแบบรายการใดรูปแบบรายการหนึ่งชัดเจน เช่น รูปแบบรายการเพลง รูปแบบรายการข่าว ผู้ผลิตรายการหรือผู้ควบคุมการผลิตจะรับผิดชอบรายการในช่วงเวลาหรือประเภทรายการ ดังนั้น สิ่งที่ควรทราบก่อนในเบื้องต้นเพื่อวางแผนการผลิตรายการ คือ 1. วัตถุประสงค์และนโยบายของสถานีและบริษัทผู้ผลิตรายการ 2. ผู้ฟังเป้าหมาย 3. สถานี เวลาออกอากาศ ความยาวรายการ 4. ทรัพยากรที่มีอยู่ของสถานีหรือบริษัท ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ ระยะเวลา 5. ศึกษาตัวอย่างที่ดี เพื่อนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับรายการ หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจ 6. วางแผนการผลิตรายการ 6.1 กำหนดวัตถุประสงค์รายการ เพื่อให้การผลิตรายการเป็นที่ต้องการว่าจะมุ่งนำเสนออะไรแก่ผู้ฟัง 6.2 กำหนดโครงร่างของรายการ ได้แก่ เนื้อหา ประเด็นของเนื้อหา รูปแบบรายการ แขกรับเชิญ/วิทยากร 6.3 เขียนบท ผู้เขียนบทจะนำแนวคิดและประเด็นคร่าว ๆ หรือโครงร่างของรายการที่ได้รับจากผู้ผลิตรายการ ไปสร้างจินตนาการและเรียบเรียงออกมาเป็นข้อความ (คำพูด) เสียงเพลง เสียงประกอบ ต่าง ๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียนบท โดยการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ - แหล่งข้อมูลบุคคล เช่น นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ - แหล่งข้อมูลเอกสารและสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ เทปเสียง อินเทอร์เน็ต - แหล่งข้อมูลที่เป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เช่น สถานที่เกิดเหตุ สถานที่ในท้องเรื่อง
ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มานี้จะนำมาวางโครงร่างของบทว่า ในรายการมีเรื่องหรือประเด็นอะไร ลำดับเนื้อหาอย่างไร มีวิธีการนำเสนออย่างไร แต่ละช่วงรายการมีความยาวเท่าไร จากนั้นจึงเขียนบท 6.4 การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์รายการ เมื่อได้บท ข้อมูล ประเด็นคำถามหรืออื่น ๆ พร้อมแล้ว ก็ต้องมาพิจารณาอีกว่า ต้องใช้วัสดุรายการอะไร ควรเตรียมให้พร้อมก่อนการผลิตรายการ ดนตรี เสียงประกอบ เทปเสียงที่ต้องการใช้ ไมโครโฟนที่เหมาะสมกับงาน การสำรองวัสดุที่ใช้ในการบันทึกเสียงและการตัดต่อเทป การเตรียมเทปแทรก (Insert Tape) ในรายการสารคดี นิตยสารทางอากาศ สัมภาษณ์ มักใช้การบันทึกเสียงนอกสถานที่มาประกอบในรายการ เทปเหล่านี้ถ้ามีความยาวมากไปหรือไม่สมบูรณ์จะต้องนำมาตัดต่อให้ได้เนื้อหาที่ต้องการ ภายในเวลาที่กำหนด การเตรียมเทปแทรกควรบันทึกลงในเทปเสียง แยกเป็นแต่ละส่วนไว้ เพื่อใช้งานได้สะดวก โดยเขียนบอกรายละเอียดไว้ในบทด้วยว่า เทปนี้เป็นเรื่องอะไร เสียงของใคร ขึ้นต้นด้วยข้อความ/คำพูดอะไร ลงท้ายด้วยข้อความ/คำพูดอะไร 6.5 การประสานงานบุคลากร โดยเฉพาะกับแขกรับเชิญหรือวิทยากร ต้องติดต่อล่วงหน้า นัดหมายเวลา สถานที่ที่จะบันทึกเสียง กรณีรายการสด หากแขกรับเชิญหรือผู้ร่วมรายการไม่สามารถมาออกอากาศได้จะต้องทำเทปล่วงหน้าหรือไม่ หรือต้องเปลี่ยนผู้ร่วมรายการ หรือต้องเปลี่ยนประเด็นที่จะเสนอหรือไม่ 6.6 จองห้องบันทึกเสียง กรณีเป็นรายการเทป 7. ขั้นการซักซ้อม (Rehearsal) การซ้อมเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตรายการ โดยเฉพาะผู้ดำเนินรายการ ผู้อ่านข่าว ผู้แสดงละครวิทยุ ต้องซ้อมการอ่านบท เพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหา ประเด็นคำถาม เรื่องราว อารมณ์ของบท ไม่ว่ารายการประเภทใดหากได้ซ้อมก่อนย่อมสร้างความมั่นใจในการทำงานทั้งสิ้น
วัตถุประสงค์การซ้อม 1. เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการพูด ไม่ประหม่า ตื่นกลัว 2. เกิดความราบรื่น ไม่ผิดพลาดบ่อย ๆ ทำให้เกิดความน่าฟัง ไม่เสียอารมณ์ 3. เป็นการตรวจสอบการอ่าน ได้แก่ คำยาก คำเฉพาะ การแบ่งวรรคตอน 4. ทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหา เรื่องราวและอารมณ์ของบทหรือตัวละคร โดยใช้ลีลา น้ำเสียงจังหวะวรรคตอน ทำให้ผู้ฟังสามารถจินตนาการได้ถูกต้องตาม

ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียง
1. ส่วนหัว (Heading) จะบอกชื่อรายการ ชื่อเรื่อง/ตอน สถานีที่ออกอากาศ/ความถี่ วัน-เวลาที่ออกอากาศ 2. ส่วนเนื้อหา (Body) เป็นรายละเอียดของเนื้อหา เรื่องราว ตามลำดับ เป็นส่วนที่บอกถึง ผู้เกี่ยวข้องในรายการว่าจะต้องทำอะไร 3. ส่วนปิดท้าย (Closing or Conclusion) เป็นส่วนสรุปเนื้อหา กล่าวขอบคุณผู้ร่วมรายการดังจะได้นำเสนอให้เห็นภาพรวมในตารางข้างล่างนี้ซึ่งทั้งสามส่วนจะต้องพิจารณาดูว่าเป็นรายการประเภทใด ใช้รูปแบบการนำเสนอแบบใด(ส่วนหัว) ชื่อรายการ ชื่อเรื่อง/ตอน สถานีที่ออกอากาศ/ความถี่ วัน-เวลาที่ออกอากาศลำดับเสียงบรรยายรูปแบบนาที1INTRO…….Titleผู้ดำเนินรายการ/ทักทาย/เกริ่นจิ้งเกิ้ล/เพลง/นำรายการ/สนทนา
2CONTENT(ส่วนเนื้อหา)ผู้ดำเนินรายการเข้าสู่สาระ สัมภาษณ์/พูดคุย/เพลง3CONCLUSION (สรุป)สรุปสาระทั้งหมด/ลารายการ
ขั้นตอนการเขียนบทรายการ 1. ขั้นเริ่มรายการ (Introduction) เป็นขั้นเรียกร้องความสนใจ ใช้เทคนิคการตั้งคำถาม ใช้เสียงประกอบ 2. ขั้นจัดรูปและตกแต่งรายการ (Development) นำเอาแก่นของเรื่องมาขยายแล้วจัดให้เป็นรูปแบบรายการที่น่าสนใจ ใช้เทคนิคต่าง ๆ ให้เหมาะสม ขั้นนี้มีความสำคัญที่จะทำให้รายการมีรสชาติ สมอารมณ์ 3. ขั้นสร้างจุดประทับใจหรือจุดสุดยอด (Climax) เป็นขั้นที่จะสร้างจุดประทับใจให้กับผู้ฟังในจุดที่เรียกว่าจุดวกกลับ (turn)นำแก่นของเรื่องปูพื้น แล้วหักมุมสรุป คลายปมปัญหาของเรื่อง 4. ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นการนำขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นมาตอกย้ำ สรุปโดยเรียบเรียงอย่างมีระเบียบให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ดังจะได้แสดงให้เห็นสัดส่วนของรายการ ยกตัวอย่างรายการ 30 นาที5 นาที5 นาที15 นาที5 นาที
ขั้นที่ 1 แนะนำรายการขั้นที่ 2 จัดรูปและตกแต่งรายการขั้นที่ 3 เสนอประเด็นต่าง ๆ สร้างจุดประทับใจขั้นที่ 4 ขั้นสรุปท้ายเทคนิคในการเขียนบท มี 5 ประการ 1. ทำไม (why) ทำไมจึงต้องเขียนบท เพื่อวัตถุประสงค์อะไร 2. ใคร (who) คือกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายของรายการวิทยุคือใคร 3. อะไร (what) อะไร คือแก่นของรายการ 4. เมื่อใด(when) วันเวลา 5. ที่ไหน (where) สถานที่ออกอากาศ 6. อย่างไร (how) รูปแบบรายการเป็นอย่างไร ใช้วัสดุประกอบรายการอะไรบ้าง

1 ความคิดเห็น:

  1. ถามผู้เขียนครับ คุณมีความคิดเห็น(ส่วนตัว)อย่างไรกับ DJ หรือผู้จัดรายการทางวิทยุ หรือผู้จัดประเภทอื่น เช่น VJ ในลักษณะที่สื่อต่อผู้ชม หรือผู้ฟัง เน้นโดยเฉพาะรายการเพลง
    ผมจะเข้ามาติดตามความคิดเห็นบ่อยๆ ขอให้นำเสนอในหลายๆแง่มุม และหลายๆด้าน โดยเฉพาะในด้านที่เป็นความคิดเห็นของเรา และจากประสบการณ์จริงที่ได้สัมผัส หรือ ได้เข้าร่วม ยากไปไม๊ครับ

    ตอบลบ