วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทวิทยุกระจายเสียง หมายถึง ข้อความที่บอกกล่าว เล่าเรื่อง เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นรายละเอียดของรายการวิทยุกระจายเสียงตั้งแต่ต้นจนจบรายการอย่างมีลำดับขั้นตอน เพื่อใช้ถ่ายทอดด้วยเสียงให้ผู้ฟังจินตนาการเป็นภาพตรงตามวัตถุประสงค์ผู้บอกกล่าว ตลอดจนทำให้รายการดำเนินไปอย่างมีทิศทางตามขอบเขตเนื้อหา รูปแบบรายการที่กำหนดไว้ ความสำคัญของบทวิทยุกระจายเสียง เป็นสิ่งที่บอกเนื้อหาสาระ รูปแบบ ลำดับการนำเสนอ ตลอดจนรายละเอียด เป็นแนวทางให้ผู้ทำงานทราบว่าใคร จะทำอะไร เมื่อไร อย่างไร , เป็นการบอกล่วงหน้าให้ผู้ทำงานแต่ละหน้าที่ทราบว่าจะต้องทำอะไร เช่น ผู้ดำเนินรายการจะพูดอะไร เมื่อไร ผู้คุมเสียงจะเปิดเพลงอะไร และไว้เพื่อค้นคว้าได้

ประเภทของบทวิทยุกระจายเสียง แบ่งได้เป็น
1. บทโครงร่างรายการอย่างคร่าว ๆ (Rundown Sheet) เป็นบทที่บอกคิวการดำเนินการระหว่างการผลิตรายการตั้งแต่ต้นจนจบว่า ใครจะทำอะไร เมื่อไร อย่างไร บทแบบนี้จะไม่มีรายละเอียดของเนื้อหาและมักเป็นการใช้และเป็นที่เข้าใจเฉพาะผู้ร่วมงาน รายการที่ใช้บทแบบนี้ คือ รายการเพลง สารคดี สัมภาษณ์ นิตยสารทางอากาศ
2. บทวิทยุกระจายเสียงแบบกึ่งสมบูรณ์ (Semi-script) เป็นบทที่มีรายละเอียดของเนื้อหา ตามลำดับขั้นตอน มีคำพูดที่สำคัญ ๆ และเสียงที่ต้องการใช้ โดยมีบางส่วนที่เปิดกว้างไว้ไม่กำหนดรายละเอียดลงไป เช่น บรายการ สัมภาษณ์ สัมภาษณ์ อภิปราย นิตยสารทางอากาศ สารคดี
3. บทวิทยุกระจายเสียงแบบสมบูรณ์ (Fully Script) เป็นบทที่มีคำพูดทุกคำพูด เรียงลำดับตามขั้นตอน เช่น บทละคร บทโฆษณา รายการสารคดี นิตยสารทางอากาศ ข่าว บทความ

ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียง
1. ส่วนหัว (Heading) จะบอกชื่อรายการ ชื่อเรื่อง / ตอน สถานีที่ออกอากาศ / ความถี่ วัน - เวลาที่ออกอากาศ
2. ส่วนเนื้อหา (Body) เป็นรายละเอียดของเนื้อหา เรื่องราว ตามลำดับ เป็นส่วนที่บอกถึง ผู้เกี่ยวข้องในรายการว่าจะต้องทำอะไร
3. ส่วนปิดท้าย (Closing or Conclusion) เป็นส่วนสรุปเนื้อหา กล่าวขอบคุณผู้ร่วมรายการ

1 ความคิดเห็น: