วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เสียงประกอบในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง (Sound effect)

แหล่งของเสียงประกอบส่วนใหญ่ คือ แผ่นเสียง เทป และแผ่นซีดี ที่ผลิตจากต่างประเทศและนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย นอกจากจะเป็นเสียงประกอบสำเร็จรูปแล้ว อาจจะมาจากเสียงในภาพยนตร์ (Sound Track) การใช้เสียงประกอบจะเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการจัดทำบทรายการเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงทำการคัดเลือกจากแผ่นสำเร็จรูปที่มีอยู่ หรือบางกรณีเสียงประกอบบางอย่างไม่มี หรือไม่เหมาะสมกับรายการ หรือไม่สมจริงตามวัฒนธรรมไทย ผู้ผลิตรายการสามารถผลิตและกำกับเสียงประกอบในรายการขึ้นมาเองก็ได้ ซึ่งการผลิตเสียงประกอบทำได้ 2 ลักษณะคือ
1. การผลิตเสียงประกอบนอกห้องบันทึกเสียง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ
a. การบันทึกจากเหตุการณ์จริงๆ โดยไม่มีการควบคุม หรือกำกับ เช่น เสียงการจราจร เสียงในตลาดสด เสียงการจลาจล เสียงเชียร์ในสนามฟุตบอล ไม่ควรนั่งใกล้หรือร่วมกับคนดูคนอื่นๆ ควรใช้ไมค์ที่มีการรับเสียงในมุมกว้าง หรือนั่งไกล เพื่อให้ได้ยินเสียงมุมกว้างทั้งหมด การบันทึกเสียงประกอบลักษณะนี้ต้องเลือกไมโครโฟนให้เหมาะสม เพราะจะทำให้ได้เสียงที่เฉพาะจุดเกินไปไม่สมจริงได้
b.การบันทึกจากเหตุการณ์จริงโดยอาศัยเครื่องบันทึกเทปกระเป๋าหิ้ว (Portable recorder) เช่น เสียงไก่ หมู เป็ดในฟาร์ม ต้องมีการควบคุมกำกับไม่ให้มีเสียงอื่นเข้ามาแทรก
2.การผลิตเสียงประกอบในห้องบันทึกเสียง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
a. การผลิตเสียงประกอบเตรียมไว้ก่อน เพื่อป้องกันการบันทึกเสียงประกอบซ้ำแล้วซ้ำอีก และสามารถตรวจสอบเสียงประกอบสำหรับการแก้ไขได้ การเตรียมเสียงประกอบไว้ก่อนจะอาศัยคนแสดง จำนวนหนึ่งไม่เกิน 4 – 5 คน และอุปกรณ์ประกอบ Mr. Frank Robert Brookes อดีตผู้ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงของสถานีวิทยุ



เทคนิคการจัดรายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียง
การวิจัยเรื่อง “เทคนิคการจัดรายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียง” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งศึกษาเทคนิคการจัดรายการเพลง เปรียบเทียบเทคนิคการจัดรายการเพลง และเพื่อวิเคราะห์เทคนิคการจัดรายการเพลงแต่ละรูปแบบทางวิทยุกระจายเสียง โดยใช้การบันทึกเทปรายการและการสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกเทปรายการเพลงประเภทยอดนิยมร่วมสมัยและรายการเพลงร่วมสมัยจำนวน 6 คลื่นความถี่ ในเวลา 8.00-9.00 น. 13.00-14.00 น. และ 21.00-22.00 น. เป็นระยะเวลา 1 เดือน และเก็บรวบรวมโดยการสัมภาษณ์ผู้ดำเนินรายการเพลงจำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. เทคนิคการจัดรายการเพลงประเภทรายการเพลงร่วมสมัยและรายการเพลงยอดนิยมร่วมสมัย การพูดเปิดรายการไม่มีรูปแบบที่แน่นอน แต่ดีเจจะพูดเปิดรายการด้วยความหลากหลายไม่ซ้ำกัน พูดเปิดรายการด้วยทัศนคติที่ดี รวมทั้งพูดเปิดรายการด้วยความสุภาพและสดใส การพูดเข้าเพลงจะพูดเข้าเพลงด้วยความหลากหลายที่มาจากข้อมูลเนื้อหาของเพลง จากเนื้อหาสาระข่าวสาร และจากน้ำเสียงของดีเจ ไม่พูดทับเนื้อร้อง และไม่พูดข้อมูลทั้งหมดในครั้งเดียว การเปิดสายสนทนาหรือเล่นเกมส์กับผู้ฟังจะมีการทักทายกับผู้ฟังเป็นคำถามสั้นๆ ก่อน เล่นเกมส์หรือสนทนากับผู้ฟังด้วยความเป็นกันเอง ควบคุมเวลาให้สั้นกระชับเข้าประเด็นเร็วที่สุด รู้จักการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะสนทนาหรือเล่นเกมส์ ให้เกียรติคนฟัง รวมทั้งพูดภาษาเดียวกับผู้ฟัง การพูดเนื้อหาสาระในรายการดีเจจะนำเนื้อหาสาระที่มีความน่าสนใจ ทันสมัยและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมานำเสนอโดยพูดเป็นภาษาของตัวเองด้วยความกระชับ ในลักษณะเหมือนสนทนากับผู้ฟัง และบอกที่มาของเนื้อหาสาระด้วย การพูดเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเพลง ดีเจจะนำเนื้อหาเกี่ยวกับเพลงและข้อมูลของศิลปินทั้งที่เกี่ยวกับเพลงและที่ไม่เกี่ยวกับเพลงมาพูดเป็นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเพลงที่เปิดจบแล้วหรือกำลังจะเปิดต่อไป โดยพูดข้อมูลทีละประเด็นในแต่ละครั้ง ไม่ควรพูดข้อมูลทั้งหมดในคราวเดียวกัน การพูดลารายการ ดีเจจะพูดลารายการอย่างสั้นกระชับได้ใจความและพูดลารายการอย่างอารมณ์ดี 2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบเทคนิคการจัดรายการเพลงประเภทรายการเพลงยอดนิยมร่วมสมัย (Contemporary Hit Radio,CHR) กับรายการเพลงร่วมสมัย(Adult Contemporary Radio, AC)พบว่า เนื้อหาที่นำมาพูดเปิดรายการ พูดเข้าเพลง เปิดสายสนทนาหรือเล่นเกมส์กับผู้ฟัง พูดเนื้อหาสาระในรายการการ พูดเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเพลง และพูดลารายการ ผู้ดำเนินรายการจะนำเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันมาพูดคือเรื่องที่มีความน่าสนใจ แต่จะแตกต่างกันที่ลักษณะการนำเสนอของดีเจคือรายการเพลงประเภทเพลงยอดนิยมร่วมสมัยจะพูดในลักษณะที่คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ตื่นตัว ร่าเริง สนุกสนาน ครื้นเครง ในขณะที่รายการเพลงร่วมสมัยจะพูดในลักษณะอบอุ่น นุ่มนวล 3. ผลการวิเคราะห์เทคนิคการจัดรายการเพลง พบว่า เนื้อหาสาระที่นำมาพูดหรือนำมาเสนอในรายการ ดีเจสามารถนำเนื้อหาเกี่ยวกับรายการ เนื้อหาทั่วๆ ไป เนื้อหาสาระเกี่ยวกับเพลงและศิลปิน โดยเนื้อหาเหล่านี้ต้องน่าสนใจ เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายของรายการ สิ่งเหล่านี้ดีเจนำมาพูดในรายการได้ในลักษณะที่เป็นภาษาหรือสไตล์ของตัวเองด้วยความกระชับ วิธีการนำเสนอดีเจควรพูดหรือนำเสนอด้วยความหลากหลาย ไม่ซ้ำกัน ข้อมูลต่างๆ ที่ดีเจมีไม่ควรจะพูดทั้งหมดในคราวเดียวกัน ดีเจต้องไม่พูดทับเพลง กรณีรับสายหน้าไมค์ดีเจควรต้องทักทายกับผู้ฟังก่อนเพื่อคลายความตื่นเต้น แล้วค่อยเข้าประเด็นที่จะสนทนาหรือเล่นเกมส์ให้เร็วที่สุด กรณีเล่นเกมส์หากคนฟังตอบไม่ได้ ดีเจสามารถช่วยโดยการบอกใบ้คำตอบ และดีเจควรต้องตัดสายอย่างนุ่มนวลเป็นไปด้วยความสุภาพเมื่อมีแนวโน้มว่าจะใช้เวลามากเกินไปจากที่กำหนด ลักษณะการพูด ดีเจควรพูดหรือดำเนินรายการโดยให้สอดคล้องกับรูปแบบของรายการ พูดในลักษณะที่เป็นกันเองกับผู้ฟัง พูดเป็นภาษาของตัวเอง พูดในลักษณะสั้นกระชับ พูดด้วยความสุภาพสดใส พูดโดยให้เกียรติคนฟัง และพูดภาษาเดียวกับผู้ฟัง ความคิดหรือทัศนคติ ดีเจควรต้องมีมุมมองหรือทัศนคติที่ดี เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ ในแง่มุมที่ดีให้แก่คนฟัง การแก้ปัญหา เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นในขณะดำเนินรายการ ดีเจควรต้องแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที เช่นกรณีรับสายหน้าไมค์ คนฟังพูดมากเกินไป พูดน้อยเกินไป พูดไม่ตรงประเด็น ดีเจจะต้องตัดสายด้วยความสุภาพ รวมถึงการแก้ปัญหาอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในขณะจัดรายการ




กระบวนการผลิตรายการ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ โดยสามารถสรุป แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
1. ขั้นเตรียมการหรือขั้นก่อนการผลิต (Preparation or Pre-production)2. ขั้นออกอากาศหรือขั้นการผลิตรายการ (On air or Production)
3. ขั้นหลังการผลิตรายการ (Post-production)
การวางแผนการผลิตรายการ การดำเนินงาน จะมีลักษณะเป็นรูปแบบรายการใดรูปแบบรายการหนึ่งชัดเจน เช่น รูปแบบรายการเพลง รูปแบบรายการข่าว ผู้ผลิตรายการหรือผู้ควบคุมการผลิตจะรับผิดชอบรายการในช่วงเวลาหรือประเภทรายการ ดังนั้น สิ่งที่ควรทราบก่อนในเบื้องต้นเพื่อวางแผนการผลิตรายการ คือ 1. วัตถุประสงค์และนโยบายของสถานีและบริษัทผู้ผลิตรายการ 2. ผู้ฟังเป้าหมาย 3. สถานี เวลาออกอากาศ ความยาวรายการ 4. ทรัพยากรที่มีอยู่ของสถานีหรือบริษัท ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ ระยะเวลา 5. ศึกษาตัวอย่างที่ดี เพื่อนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับรายการ หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจ 6. วางแผนการผลิตรายการ 6.1 กำหนดวัตถุประสงค์รายการ เพื่อให้การผลิตรายการเป็นที่ต้องการว่าจะมุ่งนำเสนออะไรแก่ผู้ฟัง 6.2 กำหนดโครงร่างของรายการ ได้แก่ เนื้อหา ประเด็นของเนื้อหา รูปแบบรายการ แขกรับเชิญ/วิทยากร 6.3 เขียนบท ผู้เขียนบทจะนำแนวคิดและประเด็นคร่าว ๆ หรือโครงร่างของรายการที่ได้รับจากผู้ผลิตรายการ ไปสร้างจินตนาการและเรียบเรียงออกมาเป็นข้อความ (คำพูด) เสียงเพลง เสียงประกอบ ต่าง ๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียนบท โดยการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ - แหล่งข้อมูลบุคคล เช่น นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ - แหล่งข้อมูลเอกสารและสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ เทปเสียง อินเทอร์เน็ต - แหล่งข้อมูลที่เป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เช่น สถานที่เกิดเหตุ สถานที่ในท้องเรื่อง
ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มานี้จะนำมาวางโครงร่างของบทว่า ในรายการมีเรื่องหรือประเด็นอะไร ลำดับเนื้อหาอย่างไร มีวิธีการนำเสนออย่างไร แต่ละช่วงรายการมีความยาวเท่าไร จากนั้นจึงเขียนบท 6.4 การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์รายการ เมื่อได้บท ข้อมูล ประเด็นคำถามหรืออื่น ๆ พร้อมแล้ว ก็ต้องมาพิจารณาอีกว่า ต้องใช้วัสดุรายการอะไร ควรเตรียมให้พร้อมก่อนการผลิตรายการ ดนตรี เสียงประกอบ เทปเสียงที่ต้องการใช้ ไมโครโฟนที่เหมาะสมกับงาน การสำรองวัสดุที่ใช้ในการบันทึกเสียงและการตัดต่อเทป การเตรียมเทปแทรก (Insert Tape) ในรายการสารคดี นิตยสารทางอากาศ สัมภาษณ์ มักใช้การบันทึกเสียงนอกสถานที่มาประกอบในรายการ เทปเหล่านี้ถ้ามีความยาวมากไปหรือไม่สมบูรณ์จะต้องนำมาตัดต่อให้ได้เนื้อหาที่ต้องการ ภายในเวลาที่กำหนด การเตรียมเทปแทรกควรบันทึกลงในเทปเสียง แยกเป็นแต่ละส่วนไว้ เพื่อใช้งานได้สะดวก โดยเขียนบอกรายละเอียดไว้ในบทด้วยว่า เทปนี้เป็นเรื่องอะไร เสียงของใคร ขึ้นต้นด้วยข้อความ/คำพูดอะไร ลงท้ายด้วยข้อความ/คำพูดอะไร 6.5 การประสานงานบุคลากร โดยเฉพาะกับแขกรับเชิญหรือวิทยากร ต้องติดต่อล่วงหน้า นัดหมายเวลา สถานที่ที่จะบันทึกเสียง กรณีรายการสด หากแขกรับเชิญหรือผู้ร่วมรายการไม่สามารถมาออกอากาศได้จะต้องทำเทปล่วงหน้าหรือไม่ หรือต้องเปลี่ยนผู้ร่วมรายการ หรือต้องเปลี่ยนประเด็นที่จะเสนอหรือไม่ 6.6 จองห้องบันทึกเสียง กรณีเป็นรายการเทป 7. ขั้นการซักซ้อม (Rehearsal) การซ้อมเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตรายการ โดยเฉพาะผู้ดำเนินรายการ ผู้อ่านข่าว ผู้แสดงละครวิทยุ ต้องซ้อมการอ่านบท เพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหา ประเด็นคำถาม เรื่องราว อารมณ์ของบท ไม่ว่ารายการประเภทใดหากได้ซ้อมก่อนย่อมสร้างความมั่นใจในการทำงานทั้งสิ้น
วัตถุประสงค์การซ้อม 1. เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการพูด ไม่ประหม่า ตื่นกลัว 2. เกิดความราบรื่น ไม่ผิดพลาดบ่อย ๆ ทำให้เกิดความน่าฟัง ไม่เสียอารมณ์ 3. เป็นการตรวจสอบการอ่าน ได้แก่ คำยาก คำเฉพาะ การแบ่งวรรคตอน 4. ทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหา เรื่องราวและอารมณ์ของบทหรือตัวละคร โดยใช้ลีลา น้ำเสียงจังหวะวรรคตอน ทำให้ผู้ฟังสามารถจินตนาการได้ถูกต้องตาม

ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียง
1. ส่วนหัว (Heading) จะบอกชื่อรายการ ชื่อเรื่อง/ตอน สถานีที่ออกอากาศ/ความถี่ วัน-เวลาที่ออกอากาศ 2. ส่วนเนื้อหา (Body) เป็นรายละเอียดของเนื้อหา เรื่องราว ตามลำดับ เป็นส่วนที่บอกถึง ผู้เกี่ยวข้องในรายการว่าจะต้องทำอะไร 3. ส่วนปิดท้าย (Closing or Conclusion) เป็นส่วนสรุปเนื้อหา กล่าวขอบคุณผู้ร่วมรายการดังจะได้นำเสนอให้เห็นภาพรวมในตารางข้างล่างนี้ซึ่งทั้งสามส่วนจะต้องพิจารณาดูว่าเป็นรายการประเภทใด ใช้รูปแบบการนำเสนอแบบใด(ส่วนหัว) ชื่อรายการ ชื่อเรื่อง/ตอน สถานีที่ออกอากาศ/ความถี่ วัน-เวลาที่ออกอากาศลำดับเสียงบรรยายรูปแบบนาที1INTRO…….Titleผู้ดำเนินรายการ/ทักทาย/เกริ่นจิ้งเกิ้ล/เพลง/นำรายการ/สนทนา
2CONTENT(ส่วนเนื้อหา)ผู้ดำเนินรายการเข้าสู่สาระ สัมภาษณ์/พูดคุย/เพลง3CONCLUSION (สรุป)สรุปสาระทั้งหมด/ลารายการ
ขั้นตอนการเขียนบทรายการ 1. ขั้นเริ่มรายการ (Introduction) เป็นขั้นเรียกร้องความสนใจ ใช้เทคนิคการตั้งคำถาม ใช้เสียงประกอบ 2. ขั้นจัดรูปและตกแต่งรายการ (Development) นำเอาแก่นของเรื่องมาขยายแล้วจัดให้เป็นรูปแบบรายการที่น่าสนใจ ใช้เทคนิคต่าง ๆ ให้เหมาะสม ขั้นนี้มีความสำคัญที่จะทำให้รายการมีรสชาติ สมอารมณ์ 3. ขั้นสร้างจุดประทับใจหรือจุดสุดยอด (Climax) เป็นขั้นที่จะสร้างจุดประทับใจให้กับผู้ฟังในจุดที่เรียกว่าจุดวกกลับ (turn)นำแก่นของเรื่องปูพื้น แล้วหักมุมสรุป คลายปมปัญหาของเรื่อง 4. ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นการนำขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นมาตอกย้ำ สรุปโดยเรียบเรียงอย่างมีระเบียบให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ดังจะได้แสดงให้เห็นสัดส่วนของรายการ ยกตัวอย่างรายการ 30 นาที5 นาที5 นาที15 นาที5 นาที
ขั้นที่ 1 แนะนำรายการขั้นที่ 2 จัดรูปและตกแต่งรายการขั้นที่ 3 เสนอประเด็นต่าง ๆ สร้างจุดประทับใจขั้นที่ 4 ขั้นสรุปท้ายเทคนิคในการเขียนบท มี 5 ประการ 1. ทำไม (why) ทำไมจึงต้องเขียนบท เพื่อวัตถุประสงค์อะไร 2. ใคร (who) คือกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายของรายการวิทยุคือใคร 3. อะไร (what) อะไร คือแก่นของรายการ 4. เมื่อใด(when) วันเวลา 5. ที่ไหน (where) สถานที่ออกอากาศ 6. อย่างไร (how) รูปแบบรายการเป็นอย่างไร ใช้วัสดุประกอบรายการอะไรบ้าง

ความหมาย ความสำคัญ ประเภทของห้องปฏิบัติการทางเสียง

ห้องบันทึกเสียง (Recording Studio)
ห้องบันทึกเสียงเป็นส่วนสำคัญต่อการทำงาน เป็นทั้งห้องที่วางอุปกรณ์ทั้งหมด และต้องสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการเก็บและสะท้อนเสียงได้เป็นอย่างดี องค์ประกอบที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อตัวงาน คุณภาพของเสียงและความรู้สึกในขณะทำงาน การสร้างห้องบันทึกเสียงไม่ว่าจะแบบอาชีพหรือส่วนตัวมีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อความสมบูรณ์ของเสียงจะแตกต่างกันไปก็ในเรื่องของรายละเอียด ราคาลงทุน ส่วนในห้องบันทึกเสียง (studio room)
จะมีอุปกรณ์ลักษณะเป็นฉากเก็บเสียงที่เรียกว่า ไอโซเลชั่นบูธ (isooation booth) มันทำหน้าที่เป้นตัวเก็บเสียงเฉพาะจุดในพื้นที่ที่เอ็นจิเนียร์ต้องการมีลักษณะเป็นเหมือนแผงที่กั้นในสำนักงานสามารถยกเคลื่อนย้ายไปมาได้ ประโยชน์ของมันเพื่อแบ่งแยกเสียงในขณะที่นักดนตรีบันทึกเสียงพร้อมๆ กันในห้องบันทึกเสียง (studio room) ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยลดการรบกวนของเสียงข้างเคียงที่จะเข้าไมค์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ห้องบันทึกเสียงของศูนย์มีเดียเป็นสตูดิโอเก็บเสียง (Studio Acoustic) ที่ได้มาตรฐาน มีผนังเก็บเสียง ที่ผลิตจากใยหิน (Rock Wool) บุโดยรอบเพื่อดูดซับเสียง ป้องกันเสียงรบกวน จากภายนอก มีอุปกรณ์การบันทึกเสียงที่ทันสมัย ประกอบด้วย เครื่องผสมเสียง (Audio Mixer) ขนาด 24 Channel พร้อมด้วยชุดคอมพิวเตอร์ ตัดต่อเสียง Protools รุ่น Digi 002 สามารถบันทึกเสียงได้ทั้งระบบ Analog และ Digital ห้องบันทึกเสียงของศูนย์มีเดีย เป็นต้นแบบของห้องปฏิบัติการทางด้าน Digital Audio สามารถผลิตชิ้นงานเสียงได้ทุกประเภท ตัวย่างเช่น บันทึกเสียงและ ผสมเสียง Spot วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ผสมเสียงรายการสารคดี การพากษ์เสียงบรรยาย สำหรับรายการประเภทต่าง ๆ ฯลฯ นอกจากนี้ ห้องบันทึกเสียงยังมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะนำวงดนตรีขนาดเล็ก เข้าไปบรรเลง เพื่อบันทึกเสียงสดได้ อีกทั้งยังมีกลองไฟฟ้า (Electronic drums) ที่ช่วยสร้างเสียงเคาะจังหวะ และ Melody เพื่อการจัดทำ Demo งานเพลง และงานดนตรี ประเภทต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ห้องควบคุมเสียง (control room)
เป็นห้องที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการบันทึกเสียงทั้งหมดและเป็นห้องที่ใช้มิกซ์ดาวน์อีกด้วย และยังสามารถใช้เป็นห้องบันทึกเสียงดนตรีในระบบมิติได้อีกด้วย

ห้องควบคุมเสียง (control room)
เอ็นจิเนียร์และโปรดิวเซอร์จะนั่งทำงานในห้องนี้เป็นหลัก ในห้องควบคุมเสียงแบบมืออาชีพที่ออกแบบอย่างดีส่วนมากมักจะรักษาอุณหภูมิเครื่องให้คงที่ตลอดเวลาการทำงานและกันเสียงรบกวนของเครื่องในขณะทำงานเพื่อให้บรรยากาศในห้องควบคุมเสียงมีความเงียบมากที่สุดเพื่อให้ได้ การฟังที่มีความคมชัดสูงสุด ณ ตำแหน่งที่ฟัง
ห้องควบคุมเสียงทั่วไปประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ
1. ไมโครโฟน นับว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานทั่วไปที่เรารู้จักกันดี ทำหน้าที่รับเอาพลังงานเสียงเพื่อเปลี่ยนพลังงานดังกล่าวเป็นพลังงานไฟฟ้า เอาพลังงานดังกล่าวไปผ่านวงจรขยายสัญญาญชั้นต้น เพื่อเข้าใจสู่กระบวนทางเสียงร่วมกับตัวอื่นต่อไป
2. เทรินเทเบิ้ล เป็นเครื่องเล่นแผ่นสียงซึ่งได้บันทึกเพลงไว้ เป็นเครื่องเล่นของมืออาชีพโดยแท้จริง
3. เครื่องบันทึกเสียง เป็นเครื่องบันทึกเสียงที่ได้บันทึกเสียงพูดหรือเสียงเพลงในรูปของอำนาจสนามแม่แหล็กในเทป ซึ่งเทปคือเส้นพลาสติกที่ได้เคลือบสารแม่เหล็กไว้ ในห้องบันทึกเสียงหรือควบคุมเสียงจะใช้เครื่องบันทึกเสียงที่เป็นระบบรีล-ทู-รีล ซึ่งให้คุณภาพเสียงดีกว่าเทปคาสเซ็ทหลายเท่าตัว
4. เครื่องเล่นคอมแพ็คดิสก์ เป็นเครื่องมือด้านเสียงที่เข้ามาแทนระบบเทปและแผ่นเสียง จะมีการบันทึกเสียงลงในแผ่นเสียง เมื่อเวลาเล่นกลับจะใช้แสงเลเซอร์ยิงไปที่แผ่นดิสก์ เพื่ออ่านข้อมูลในระบบดิจิตอลออกมา ด้วยระบบควบคุมที่เป็นไมโครคอมพิวเตอร์จึงทำให้การเลือกเพลง ตั้งโปรแกรมเพลงง่ายกว่าเทปและ
เทิร์นเทเบิ้ล
5. ดิจิตอลออดิโอเทปหรือแดท เป็นเทปที่บันทึกเสียงในระบบดิจิตอลให้คุณภาพเสียงใกล้เคียงกับคอมแพ็คดิสก์ หาเพลงได้รวดแล้ว ในปจจุบันนี้แดท ถูกนำมาใช้ในการเปิดโฆษณาที่เรียกว่าสป็อต ทั้งนี้เพราะว่าสามารถหาดัชนีโฆษณาได้ง่ายโดยไม่ต้องมีระบบมอนิเตอร์ ทำให้ดีเจเพียงคนเดียวก็สามารถควบคุมรายการทั้งรายการได้โดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุมเสียง
6. คอนโซล เป็นเครื่องมือที่มีหน้าที่นำเอาสัญญาณต่าง ๆ ที่ส่งเข้ามา เช่นจากไมโครโฟน เทิร์นเทเบิ้ล สัญญาณภาพและเสียงจากเครื่องวีดีโอเทป จากฟิล์มโปรเจ็คเตอร์ และอื่นๆ เพื่อทำการขยายสัญญาณ ทำการบาลานซ์ ผสมเสียง และจัดระบบเสียงเพื่อการบันทึกหรือส่งออกอากาศเป็นเทปที่บันทึกเสียงในระบบดิจิตอลให้คุณภาพเสียงนเสียง จะมีการบันทึกเสียงลงในแผ่นเสียง เมื่อเวลาเล่นก
7. เครื่องช่วยเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการดัดรูปสัญญาณ ให้ต่างไปจากรูปแบบเดิม รวมไปถึงระบบปรุงแต่งเสียงออกมาตามความต้องการของผู้ควบคุมเสียงอุปกรณ์ทั่วไป ไปเป็นอุปกรณ์ช่วยเสียงได้แก่ อีควอไลเซอร์ ลิมิเตอร์-คอมเพรสเซอร์ รีเวิบร์-เครื่องทำเสียงก้อง และเอ็คโค่ เป็ต้น
8. ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดพลังงานไฟฟ้า อันมาจากเครื่องขยายสัญญาณเสียง เพื่อแปรสภาพพลังงานดังกล่าวเป็นพลังงานเสียงให้รับฟังได้

ห้องบันทึกเสียง (Studio or live room)
เป็นห้องที่ใช้ทำการบันทึกเสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ที่ต้องใช้ไมโครโฟนในการเก็บเสียง เช่น บันทึกเสียงกลอง กีตาร์ เสียงร้อง ซึ่งต้องสามารถกันเสียงรบกวนจากภายนอกห้องให้ได้มากที่สุดเพื่อที่จะเก็บเสียงได้สะอาดที่สุดจากแหล่งกำเนิดเสียง ห้องนี้จะเน้นเรื่องความเป็นอะคูสติกของเสียงอย่างมาก เพื่อช่วยให้เสียงเครื่องดนตรีหรือเสียงร้องมีคุณภาพมากสมจริงมีการสะท้อนเสียงที่เหมาะสมและถูกต้อง

ห้องระบบมิดี้
การทำงานในห้องแบบมิติสตูดิโอนั้นสามารถสร้างเสียงได้อย่างมากมาย (ตามจำนวนซาวด์โมดูลที่มี) ด้วย ไม่จำเป็นต้องมีมิกเซอร์ที่มีแชนเนลมากมายเหมือนเมื่อก่อน หรือไม่ต้องใช้มิกเซอร์ภายนอกก็ได่แต่ใช้ที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ก็ยังได้ และสามารถเก็บความจำของงานที่ทำไปได้อีกด้วยเพื่อวันต่อมาสามารถทำงานต่อได้เลยโดยไม่ต้องมาจัดเซ็ตอุปกรณ์หรือเลือกเสียงใหม่อีกครั้ง ทำให้เกิดความรวดเร็วและสะดวก ห้องระบบมิตินิยมใช้ควบคู่ไปกับเครื่องบันทึกในระบบดิจิตอลมากในปัจจุบันเพราะมีราคาถูกลง โปรดิวเซอร์ หรือนักดนตรีเริ่มหันมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก

เรื่อง คุณลักษณะของวิทยุในการสอนและการวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ วิทยุประกอบการสอน

รายการเพื่อการสอน เป็นรายการที่ผลิตขึ้นเพื่อการสอนตามหลักสูตรในระดับใดระดับหนึ่ง รายการมีลักษณะเป็นบทเรียน แบ่งเป็นตอน ๆ มีวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ และมีการวัดผลการเรียนจากการชมรายการด้วย อาจจัดได้เป็น 3 ลักษณะคือ
- รายการทำหน้าที่สอนทั้งหมด เป็นรายการที่สอนเบ็ดเสร็จในตัว ทำหน้าที่แทนครู
- รายการทำหน้าที่สอนเนื้อหาหลัก เป็นรายการที่สอนเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญต้องอาศัยครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ อธิบาย ขยายความ หรือให้ทำกิจกรรมเสริม
- รายการทำหน้าที่เสริมการสอน เป็นรายการที่จัดขึ้น เพื่อเสริมการสอนของครูให้สมบูรณ์ขึ้น เช่น การแสดงละคร การสาธิต หรือการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
รูปแบบการจัดรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1) รายการสดที่จัดขึ้นในห้องส่ง แล้วถ่ายทอดออกอากาศโดยตรง รายการ ลักษณะนี้อาจมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นได้
2) รายการถ่ายทอดสดจากภายนอก ส่วนมากเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในสังคม และประชาชนส่วนใหญ่สนใจ
3) รายการที่บันทึกเทปไว้ล่วงหน้า เฉพาะสำหรับรายการที่ต้องเตรียมการล่วงหน้า และต้องการควบคุมเพื่อป้องกันความผิดพลาด
4) รายการจากภาพยนตร์โทรทัศน์ ได้แก่ภาพยนตร์ข่าว บันเทิง สารคดี ฯลฯ ซึ่งนำมาฉายแพร่ภาพออกอากาศ
การวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการนำภาษาพูดจากรายการวิทยุโทรทัศน์มาใชในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น และสำรวจความคิดเห็นของครูประจำชั้นเกี่ยวกับ การใช้ภาษาพูดในรายการวิทยุโทรทัศน์ของนักเรียนดังกล่าว ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2,472 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2533 ของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองขอนแก่น และครูประจำชั้นจำนวน 53 คน จากทั้งหมด 23 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียน 80 คน และครู 28 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจการชมรายการวิทยุโทรทัศน์ที่นักเรียนชอบดูเป็นประจำ และโฆษณาที่นักเรียนเห็นที่บ่อยที่สุด ก่อนบันทึกรายการดังกล่าวลงในเทปโทรทัศน์เพื่อนำไปศึกษาภาษาพูด นอกจากนี้ผู้วิจัยจึงได้สร้างแบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูประจำชั้นเกี่ยวกับ การใช้ภาษาพูดในรายการวิทยุโทรทัศน์ของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS/PC+) เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละในการใช้ คำ สำนวนและข้อความโฆษณาในรายการวิทยุโทรทัศน์ ได้วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามความคิดเห็นของครูประจำชั้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. คำ กลุ่มคำ สำนวนและข้อความโฆษณาที่นักเรียนเคยได้ยินมากที่สุด ตามลำดับมีดังนี้ จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน หน้าแตกยับเยิน เพลงโฆษณาเอ็มร้อยและโค้ก สำหรับที่นำไปใช้พูดมากที่สุด ตามลำดับ ดังนี้ อย่าหนีนะ หน้าแตกยับเยินและเพลงโฆษณาเอ็มร้อยและที่นักเรียนนำไปใช้พูดกับพ่อแม่มากที่สุด ดังนี้ สวดมนต์ ตื่นเต้นจนนอนไม่หลับและโค้กตามลำดับ ส่วนที่นำไปใช้พูดกับเพื่อนมากที่สุด ตามลำดับ ดังนี้ จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน ดูถูก หน้าแตกยับเยิน และเซเว่นอัพ และที่นำไปใช้พูดกับบุคคลอื่นมากที่สุด คือ สวดมนต์ หน้าแตกยับเยินและเบบี้ มายด์ ตามลำดับ ซึ่งบุคคลอื่นส่วนมากได้แก่ ญาติพี่น้อง นอกจากนี้ภาษาพูดที่นักเรียนเข้าใจความหมายมากที่สุด ได้แก่ จะรีบไปไหน จะรีบไปไหน ขอบอกขอบใจ และโค้ก ตามลำดับ
2. ครูประจำชั้นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาพูด ในรายการวิทยุโทรทัศน์ของนักเรียนที่อยู่ในระดับมาก คือนักเรียนได้รับคำศัพท์หรือสำนวนใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น และสามารถถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นคำพูดที่สื่อความหมายได้เข้าใจ มีการเน้นคำหรือใจความสำคัญการใส่อารมณ์และความรู้สึกลงไปในน้ำเสียง ตลอดจนการพูดที่ถูกกาลเทศะและบุคคลในส่วนที่วิทยุโทรทัศน์ทำได้ในระดับปานกลาง คือการพูดที่ถูกต้องชัดถ้อยชัดคำ การแบ่งวรรคตอนในการพูดที่ถูกต้องเหมาะสม การใช้ภาษาโลดโผน คำสแลง การสร้างคำหรือสำนวนใหม่ ๆ ที่ทำให้ภาษาวิบัติ การออกเสียงตัว ร ล และตัวควบกล้ำชัดเจน มีการส่งเสริมพัฒนาทางการพูดให้ถูกต้อง รวดเร็ว ทำให้นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์ได้อย่างมีเหตุผล ตลอดจนมีส่วนช่วยในการสื่อสารระหว่างนักเรียนกับนักเรียนหรือครูดีขึ้น
ความสำคัญของรายการวิทยุกระจายเสียง
วิทยุกระจายเสียงนับเป็นสื่อมวลชนแขนงหนึ่ง ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ารายการโทรทัศน์ เนื่องจากการส่งข่าวสารความรู้ไปสู่ประชาชนได้ไกลกว่าและรวดเร็วกว่าสื่อมวลชนอื่นๆ แม้นในสถานที่ทุรกันดาร กอปรกับราคาเครื่องรับวิทยุมีราคาถูก น้ำหนักเบา ตามเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถเคลื่อนย้ายติดตัวไปได้ง่ายกว่าเครื่องรับโทรทัศน์ และขณะที่ฟังรายการก็สามารถปฏิบัติภารกิจอื่นได้ไปพร้อมๆกัน รายการวิทยุมีอิทธิพลในการโน้มน้าวความคิดเห็นให้คล้อยตามได้ง่าย เนื่องจากการเสนอจินตนาการที่กว้างไกลได้มากกว่าการดูรายการโทรทัศน์ที่ถูกจำกัดในเรื่องของภาพและฉาก

หลักการเขียนบทรายการวิทยุกระจายเสียง ประเภทข่าว
องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำเสนอข่าวทางวิทยุกระจายเสียงมีความเหมาะสมกับ ผู้ฟังคือ “การเขียนบท” ซึ่งจะต้องเขียนให้สอดคล้องกับลักษณะและธรรมชาติของวิทยุกระจายเสียง โดยคำนึงถึงการใช้ภาษาและวิธีการเสนอที่เหมาะสม โดยทั่วไปจะยึดหลักการเช่นเดียวกับการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ แต่วิทยุกระจายเสียงมีข้อจำกัดด้านเวลาจึงมักเขียนในลักษณะเน้นความนำ (lead) และเนื้อข่าว (body) ไว้รวมกัน และมีข้อควรคำนึงที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
1. การเขียนข่าวเพื่ออ่านทางวิทยุกระจายเสียง ต้องกระจ่างชัด ฟังง่าย เข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน วกวน หรือยืดยาว ประโยคแต่ละประโยคควรมีแนวความคิดเดียว เป็นประโยคสั้นๆ ที่มีความหมายจบในประโยคนั้น แต่เพื่อความน่าฟังควรจะสลับกับประโยคยาวบ้าง ตามแต่ความสำคัญของใจความ
2. หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดซ้ำๆ กัน คำที่มีเสียงคล้ายๆ กัน เพราะจะทำให้ฟังลำบาก ถ้า จำเป็นต้องใช้ให้หาคำอื่นที่มีความหมายอย่างเดียวกันแทน เพื่อช่วยให้ฟังได้ง่ายขึ้น
3. การยกข้อความหรือคำพูดของผู้ใดผู้หนึ่งมากล่าวในการเขียนข่าวทางวิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้ฟังไม่สามารถทราบได้ว่าข้อความนั้นอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ ดังนั้นจึงต้องเขียนให้ชัดเจนว่าคำพูดนั้นๆ ประโยคนั้นๆ เป็นคำพูดของใคร จึงควรถอดเครื่องหมายอัญประกาศออก แล้วเรียบเรียงประโยคเสียใหม่ เปลี่ยนสรรพนามจากบุรุษที่หนึ่งเป็นบุรุษที่สาม หรือเอ่ยชื่อบุคคลนั้นๆ ออกมาให้ชัดเจน
4. ไม่ควรประหยัดคำจนเกินไป เพราะอาจทำให้เข้าใจไขว้เขวได้ การใช้คำย่อย่อมไม่เป็นการอำนวยความสะดวกทั้งแก่ผู้อ่านและผู้ฟัง ผู้อ่านอาจอ่านผิดพลาดได้ง่าย ผู้ฟังก็อาจฟังผิดเพี้ยนสับสนได้ง่ายเช่นกัน ตัวย่อที่ใช้กันอยู่จนเป็นที่ยอมรับมักเป็นตัวย่อของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานที่ใช้ตัวย่อจนเป็นที่รู้จักดี และใช้กันจนเป็นที่รู้จักทั่วไปเท่านั้น
5. การเขียนชื่อเฉพาะ ชื่อที่อ่านยากๆ ศัพท์บางคำที่ไม่คุ้นตา ควรวงเล็บคำอ่านไว้ให้ ชัดเจน เช่น เสวก (สะ-เหวก) รังควร (รัง-คะ-วอน) เป็นต้น
6. การเขียนตัวเลขต้องเขียนให้ผู้อ่านไม่สับสน ตามหลักสากล เลขต่ำกว่า 10 เขียนเป็นตัวหนังสือ ยกเว้น วันที่ เลขที่บ้าน ลำดับที่ เวลา อายุ

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทวิทยุกระจายเสียง หมายถึง ข้อความที่บอกกล่าว เล่าเรื่อง เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นรายละเอียดของรายการวิทยุกระจายเสียงตั้งแต่ต้นจนจบรายการอย่างมีลำดับขั้นตอน เพื่อใช้ถ่ายทอดด้วยเสียงให้ผู้ฟังจินตนาการเป็นภาพตรงตามวัตถุประสงค์ผู้บอกกล่าว ตลอดจนทำให้รายการดำเนินไปอย่างมีทิศทางตามขอบเขตเนื้อหา รูปแบบรายการที่กำหนดไว้ ความสำคัญของบทวิทยุกระจายเสียง เป็นสิ่งที่บอกเนื้อหาสาระ รูปแบบ ลำดับการนำเสนอ ตลอดจนรายละเอียด เป็นแนวทางให้ผู้ทำงานทราบว่าใคร จะทำอะไร เมื่อไร อย่างไร , เป็นการบอกล่วงหน้าให้ผู้ทำงานแต่ละหน้าที่ทราบว่าจะต้องทำอะไร เช่น ผู้ดำเนินรายการจะพูดอะไร เมื่อไร ผู้คุมเสียงจะเปิดเพลงอะไร และไว้เพื่อค้นคว้าได้

ประเภทของบทวิทยุกระจายเสียง แบ่งได้เป็น
1. บทโครงร่างรายการอย่างคร่าว ๆ (Rundown Sheet) เป็นบทที่บอกคิวการดำเนินการระหว่างการผลิตรายการตั้งแต่ต้นจนจบว่า ใครจะทำอะไร เมื่อไร อย่างไร บทแบบนี้จะไม่มีรายละเอียดของเนื้อหาและมักเป็นการใช้และเป็นที่เข้าใจเฉพาะผู้ร่วมงาน รายการที่ใช้บทแบบนี้ คือ รายการเพลง สารคดี สัมภาษณ์ นิตยสารทางอากาศ
2. บทวิทยุกระจายเสียงแบบกึ่งสมบูรณ์ (Semi-script) เป็นบทที่มีรายละเอียดของเนื้อหา ตามลำดับขั้นตอน มีคำพูดที่สำคัญ ๆ และเสียงที่ต้องการใช้ โดยมีบางส่วนที่เปิดกว้างไว้ไม่กำหนดรายละเอียดลงไป เช่น บรายการ สัมภาษณ์ สัมภาษณ์ อภิปราย นิตยสารทางอากาศ สารคดี
3. บทวิทยุกระจายเสียงแบบสมบูรณ์ (Fully Script) เป็นบทที่มีคำพูดทุกคำพูด เรียงลำดับตามขั้นตอน เช่น บทละคร บทโฆษณา รายการสารคดี นิตยสารทางอากาศ ข่าว บทความ

ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียง
1. ส่วนหัว (Heading) จะบอกชื่อรายการ ชื่อเรื่อง / ตอน สถานีที่ออกอากาศ / ความถี่ วัน - เวลาที่ออกอากาศ
2. ส่วนเนื้อหา (Body) เป็นรายละเอียดของเนื้อหา เรื่องราว ตามลำดับ เป็นส่วนที่บอกถึง ผู้เกี่ยวข้องในรายการว่าจะต้องทำอะไร
3. ส่วนปิดท้าย (Closing or Conclusion) เป็นส่วนสรุปเนื้อหา กล่าวขอบคุณผู้ร่วมรายการ

ความรู้ความสามารถของผู้ดำเนินรายการ
1. การใช้ภาษาที่ถูกต้อง
2. การพูด - อ่านออกเสียงที่ถูกต้อง การพูด - อ่านเพื่อคนฟัง การพูดเป็นการสื่อสารทางเดียว เพราะผู้ฟังไม่เห็นหน้า เพราะฉะนั้น เสียง ลีลาการอ่านต้องดึงดูดความสนใจผู้ฟังให้ได้
3. ความสามารถในการถ่ายทอดอารมณ์ แสดงการสื่อความคิด ความหมาย
4. มีความรู้กว้างขวาง ใฝ่หาความรู้ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ อย่างละเอียดทั้งในทางบวกและลบ เพื่อสามารถเปรียบเทียบแง่คิดต่าง ๆ ได้ ติดตามเหตุการณ์รอบตัวอยู่เสมอ
5. เข้าใจงานวิทยุกระจายเสียง รูปแบบ ประเภทของรายการ
6. มีความสามารถ เข้าใจในเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องใช้งานพอสมควร

คุณสมบัติที่พึงมีของผู้ดำเนินรายการ
1. มีเสียงดี ชัดเจน
2. เชื่อมั่นในการพูดของตัวเอง ผู้ดำเนินรายการสามารถชนะใจผู้ฟังได้ด้วยน้ำเสียง เสียงที่เปล่งออกมาด้วยความมั่นใจ มั่นคงและไม่ลังเล เพราะถ้าผู้ฟังจับได้ว่าผู้พูดไม่แน่ใจในสิ่งที่พูด ผู้ฟังก็ขาดความเลื่อมใสในรายการ
3. เอาใจใส่ผู้ฟัง เรียนรู้ความต้องการ รสนิยมผู้ฟัง ผู้พูดต้องสนใจผู้ฟังโดยศึกษาปฏิกริยาจากผู้ฟังทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติหน้าที่และคิดหาเหตุผลว่าปฎิกริยาที่มีต่อเรา ต่อการทำงานของเราเป็นเพราะเหตุใด มีอะไรต้องแก้ไข ไม่ควรใช้ความชอบของตนเองวัดว่าคนอื่นต้องชอบ
4. มีไหวพริบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี งานกระจายเสียงเป็นงานที่เกิดความผิดพลาดได้ง่ายจึงประมาทไม่ได้ดังนั้นถ้าเกิดความผิดพลาดต้องรีบแก้ไข ยอมรับ เช่น ถ้าอ่านผิด ต้องรีบขออภัยและแก้ไขโดยเร็ว 5. ใจเย็น ไม่ตื่นเต้นตกใจง่าย สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี
6. มีการตัดสินใจที่ดี
7. ใจกว้าง ยอมรับฟังคำติ – ชม ไม่โกรธ เพราะสิ่งต่าง ๆ นี้เป็นส่วนสำคัญของการปรับปรุงรายการและตัวเรา
8. ตรงต่อเวลา
9. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถปรับตัวและเข้ากับคนทุกชนชั้นทุกประเภททั้งในเวลา นอกเวลาทำงาน
10. มีอารมณ์ขัน ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ จำไว้ว่าเสียงที่เปล่งออกมาเป็นเงาสะท้อนอารมณ์ผู้พูดว่ามีอารมณ์เช่นไร
11. มีความกระตือรือร้น ทำงานให้ดีเรื่อย ๆ แสวงหา ความรู้ใหม่ ๆ ปรับปรุงวิธีการพูด ไม่กล่าวประโยคซ้ำๆ
12. การแสดงออกทางน้ำเสียง การเลือกใช้คำพูด รู้จักชม คนอื่นด้วย ไม่ยกตัว จริงใจต่อหน้าที่ อย่านึกถึงแต่รายได้
13. ความอดทน สามารถอดทนต่อความจำเจ การประกาศซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง ทุกวัน การซ้อมอ่านหลาย ๆ ครั้ง และต่อสภาพวุ่นวายในการทำงาน
14. สุขภาพร่างกายและจิตใจดี รักษาอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง เพราะต้องพร้อมต่อการปฏิบัติหน้าที่ได้ทุกเวลา
15. มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ต้องรู้ว่าพูดกับใครและคิดด้วยว่าพูดอย่างนี้เขาจะรู้สึกอย่างไร จะสนใจไหม
16. เป็นพลเมืองที่ดี เป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้ฟัง
17. มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม จะทำให้งานรวดเร็วและประสานกัน ส่งผลต่อ ความสำเร็จของงาน
18. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน รับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้นจากการพูดของเรา รับผิดชอบต่อผู้ฟังของเรา
19 มีความสุภาพด้านการใช้ภาษาพูด เสียงที่สุภาพ กริยาอาการ เหล่านี้เกิดจากการสำรวมความคิด อารมณ์ และการพูดคุยที่ถูกกาลเทศะ
20. มีสายตาที่ว่องไวและแน่นอน สามารถอ่านและดูเวลาไปพร้อม ๆ กันได้

การดำเนินงาน จะมีลักษณะเป็นรูปแบบรายการใดรูปแบบรายการหนึ่งชัดเจน เช่น รูปแบบรายการเพลง รูปแบบรายการข่าว
ผู้ผลิตรายการหรือผู้ควบคุมการผลิตจะรับผิดชอบรายการในช่วงเวลาหรือประเภทรายการ
สิ่งที่ควรทราบก่อนในเบื้องต้นเพื่อวางแผนการผลิตรายการ คือ
1. วัตถุประสงค์และนโยบายของสถานีและบริษัทผู้ผลิตรายการ
2. ผู้ฟังเป้าหมาย
3. สถานี เวลาออกอากาศ ความยาวรายการ
4. ทรัพยากรที่มีอยู่ของสถานีหรือบริษัท ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ ระยะเวลา
5. ศึกษาตัวอย่างที่ดี เพื่อนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับรายการ หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจ
6. วางแผนการผลิตรายการ
6.1 กำหนดวัตถุประสงค์รายการ เพื่อให้การผลิตรายการเป็นที่ต้องการว่าจะมุ่งนำเสนออะไรแก่ผู้ฟัง 6.2 กำหนดโครงร่างของรายการ ได้แก่ เนื้อหา ประเด็นของเนื้อหา รูปแบบรายการ
แขกรับเชิญ /วิทยากร
6.3 เขียนบท ผู้เขียนบทจะนำแนวคิดและประเด็นคร่าว ๆ หรือโครงร่างของรายการที่ได้รับจากผู้ผลิตรายการ ไปสร้างจินตนาการและเรียบเรียงออกมาเป็นข้อความ ( คำพูด ) เสียงเพลง เสียงประกอบต่าง ๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียนบท โดยการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่
- แหล่งข้อมูลบุคคล เช่น นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ
- แหล่งข้อมูลเอกสารและสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ เทปเสียง อินเทอร์เน็ต
- แหล่งข้อมูลที่เป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เช่น สถานที่เกิดเหตุ สถานที่ในท้องเรื่อง ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มานี้จะนำมาวางโครงร่างของบทว่า ในรายการมีเรื่องหรือประเด็นอะไร ลำดับเนื้อหาอย่างไร มีวิธีการนำเสนออย่างไร แต่ละช่วงรายการมีความยาวเท่าไร จากนั้นจึงเขียนบท
6.4 การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์รายการ เมื่อได้บท ข้อมูล ประเด็นคำถามหรืออื่น ๆ พร้อมแล้ว ก็ต้องมาพิจารณาอีกว่า ต้องใช้วัสดุรายการอะไร ควรเตรียมให้พร้อมก่อนการผลิตรายการ ดนตรี เสียงประกอบ เทปเสียงที่ต้องการใช้ ไมโครโฟนที่เหมาะสมกับงาน การสำรองวัสดุที่ใช้ในการบันทึกเสียงและการตัดต่อเทป การเตรียมเทปแทรก (Insert Tape) ในรายการสารคดี นิตยสารทางอากาศ สัมภาษณ์ มักใช้การบันทึกเสียงนอกสถานที่มาประกอบในรายการ เทปเหล่านี้ถ้ามีความยาวมากไปหรือไม่สมบูรณ์จะต้องนำมาตัดต่อให้ได้เนื้อหาที่ต้องการ ภายในเวลาที่กำหนด การเตรียมเทปแทรกควรบันทึกลงในเทปเสียง แยกเป็นแต่ละส่วนไว้ เพื่อใช้งานได้สะดวก โดยเขียนบอกรายละเอียดไว้ในบทด้วยว่า เทปนี้เป็นเรื่องอะไร เสียงของใคร ขึ้นต้นด้วยข้อความ / คำพูดอะไร ลงท้ายด้วยข้อความ / คำพูดอะไร
6.5 การประสานงานบุคลากร โดยเฉพาะกับแขกรับเชิญหรือวิทยากร ต้องติดต่อล่วงหน้า นัดหมายเวลา สถานที่ที่จะบันทึกเสียง กรณีรายการสด หากแขกรับเชิญหรือผู้ร่วมรายการไม่สามารถมาออกอากาศได้จะต้องทำเทปล่วงหน้าหรือไม่ หรือต้องเปลี่ยนผู้ร่วมรายการ หรือต้องเปลี่ยนประเด็นที่จะเสนอหรือไม่
6.6 จองห้องบันทึกเสียง กรณีเป็นรายการเทป
7. ขั้นการซักซ้อม (Rehearsal) การซ้อมเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตรายการ โดยเฉพาะผู้ดำเนินรายการ ผู้อ่านข่าว ผู้แสดงละครวิทยุ ต้องซ้อมการอ่านบท เพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหา ประเด็นคำถาม เรื่องราว อารมณ์ของบท ไม่ว่ารายการประเภทใดหากได้ซ้อมก่อนย่อมสร้างความมั่นใจในการทำงานทั้งสิ้น


วัตถุประสงค์การซ้อม
1. เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการพูด ไม่ประหม่า ตื่นกลัว
2. เกิดความราบรื่น ไม่ผิดพลาดบ่อย ๆ ทำให้เกิดความน่าฟัง ไม่เสียอารมณ์
3. เป็นการตรวจสอบการอ่าน ได้แก่ คำยาก คำเฉพาะ การแบ่งวรรคตอน
4. ทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหา เรื่องราวและอารมณ์ของบทหรือตัวละคร โดยใช้ลีลา น้ำเสียงจังหวะวรรคตอน ทำให้ผู้ฟังสามารถจินตนาการได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ผู้เขียนบท

ประเภทของการซ้อม
1. การซ้อมอ่านบท (Script Reading) เป็นการทำความเข้าใจเนื้อหา การอ่านออกเสียง การแบ่งวรรคตอน การแสดงอารมณ์ ความรู้สึก บรรยากาศอย่างถูกต้อง การซ้อมอ่านบทยังเป็นการตรวจความถูกต้องของภาษาและข้อมูลได้อีกขั้นหนึ่ง เนื่องจากเคยปรากฏเสมอว่า บทที่เขียนมายังขาดความถูกต้องหรือบทไม่มีความชัดเจน เช่น การส่งโทรสารหรือเป็นความผิดพลาดจากผู้เขียนบทเองก็ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นรายการประเภทใด หากได้ซ้อมอ่านบทก่อนย่อมสร้างความมั่นใจในการทำงานทั้งสิ้นยิ่งปัจจุบันการนำเสนอรายการส่วนใหญ่เป็นรายการสด ความถูกต้องของข้อมูลต้องตรวจสอบเป็นอย่างดี
2. การซ้อมแห้ง (Dry Run) เป็นการซ้อมคิวหรือกำหนดคิวว่าใครจะทำอะไรก่อนหลังอย่างไร การซ้อม ฟังความถูกต้อง การซ้อมจับเวลาบท การซ้อมแบบนี้มักไม่ใช้อุปกรณ์การผลิตใด ๆ
3. การซ้อมกับไมโครโฟน (Microphone Rehearsal) เป็นการซ้อมที่ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น ไมโครโฟนในห้องบันทึกเสียง เพื่อตั้งระดับความดัง - เบาของเสียงให้เหมาะสม หรือการซ้อมไปพร้อมการใส่ดนตรี เสียงประกอบ อย่างไรก็ตามแต่ละรายการมีความต้องการการซ้อมในระดับที่ต่างกัน นอกจากนี้หากรายการที่มีความยุ่งยาก เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตควรซ้อมการวางคิวเสียง วัสดุประกอบรายการต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนการออกอากาศ

เครื่องส่งวิทยุระบบเอเอ็มและเอฟเอ็มนั้นประกอบด้วยส่วนที่เป็นมอดดูเลเตอร์ ซึ่งเป็นวงจรที่นำ เอาสัญญาณข้อมูลไปมอดดูเลตตัวพา ผลที่ได้จะเป็นสัญญาณเอเอ็มหรือเอฟเอ็ม ที่มีความถี่ศูนย์กลางอยู่ที่ ความถี่ของตัวพา หลังจากนั้นจะถูกขยายให้มีกำลังสูงเท่าที่ต้องการ แล้วจึงส่งสัญญาณไปยังเสาอากาศ เพื่อให้แผ่กระจายเป็นคลื่นวิทยุออกไป เครื่องรับวิทยุเอเอ็มและเอฟเอ็มที่มีขายในท้องตลาดจะเป็น เครื่องรับที่เรียกว่า ระบบซูเปอร์เฮตเทอโรไดน์ (superheterodyne) โดยมีหลักการทำงานอย่างคร่าวๆ ดัง ต่อไปนี้
ส่วนแรกของเครื่องรับคือ เสาอากาศ ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงคลื่นวิทยุเป็นสัญญาณไฟฟ้าปกติสัญญาณนี้จะ อ่อนมาก สัญญาณที่ได้รับจะอ่อนลงถ้าระยะทางจากเครื่องส่งเพิ่มขึ้น เสาอากาศนี้จะรับคลื่นวิทยุจำนวน มากมายที่อยู่ในอากาศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการกรองเอาสัญญาณที่ไม่ต้องการออก เพื่อที่เครื่อง รับจะได้เลือกเฉพาะสถานีวิทยุที่ต้องการ วิธีการกรองจะใช้เทคนิคที่ขยับความถี่ของสถานีที่ต้องการไปยังความถี่ที่คงตัวค่าหนึ่ง ความถี่คง ตัวนี้เรียกว่า ความถี่ไอเอฟ (IF ย่อมาจาก intermediate frequency) ระบบเอเอ็มจะใช้ความถี่ ๔๕๕ กิโลเฮิรตซ์ และระบบเอฟเอ็มจะใช้ความถี่ ๑๐.๗ เมกะเฮิรตซ์ แล้วจึงผ่านวงจรกรองหรือฟิลเตอร์ที่ปล่อย ให้ความถี่ไอเอฟและใกล้เคียงผ่านได้เท่านั้น วงจรกรองนี้เรียกว่าไอเอฟฟิลเตอร์ วงจรที่ทำหน้าที่ขยับ ความถี่นั้นเรียกว่า วงจรมิกเซอร์ (mixer) ซึ่งทำการคูณสัญญาณที่รับเข้ามากับสัญญาณไซน์ที่สร้างขึ้น ในเครื่องรับ ความถี่ของสัญญาณไซน์ จะมีค่าเท่ากับความถี่ของสถานีที่ต้องการ บวกกับ ๔๕๕ กิโลเฮิรตซ์ (หรือ ๑๐.๗ เมกะเฮิรตซ์กรณีเป็นเอฟเอ็ม) ดังเช่น ถ้าต้องการรับสถานีวิทยุเอเอ็มความถี่ ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์ ผู้ฟังก็จะปรับปุ่มเลือกสถานีบนเครื่องรับจนหน้าปัดบอกว่า ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์ ปุ่มนี้เองจะ ไปเปลี่ยนความถี่ของวงจรกำเนิดสัญญาณไซน์ ให้สร้างความถี่ที่ ๖๕๐ + ๔๕๕ = ๑,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์วงจร มิกเซอร์จะทำหน้าที่คูณสัญญาณความถี่ ๑,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์ กับสัญญาณที่เข้ามาจากเสาอากาศ ผลของการคูณ สองสัญญาณเข้าด้วยกันจะทำให้เกิดสัญญาณสองสัญญาณ สัญญาณที่หนึ่งจะมีความถี่เท่ากับผลต่างของความถี่ ของสัญญาณทั้งสอง สัญญาณที่สองจะมีความถี่เท่ากับผลบวกของความถี่ของสัญญาณทั้งสอง