วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552


สมัครเรียน โรงเรียนช่างฝีมือทหารโรงเรียนช่างฝีมือทหาร รับนักเรียนช่างปี 52

โรงเรียนช่างฝีมือทหาร เป็นสถานศึกษาสังกัดกรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด เปิดหลักสูตรการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ



1.นชท. ภาคปรกติ (ปวช.) เป็นนักเรียนอยู่ประจำ เมื่อสำเร็จการศึกษาต้องเข้ารับราชการทหาร เปิดสอน 6 สาขาวิชาชีพช่าง

2.นชท.ภาคสมทบ (ปวช.) เป็นนักเรียนไป-กลับ เมื่อสำเร็จการศึกษาจะไม่มีข้อผูกพันกับทางราชการ เปิดสอน 6 สาขาวิชาชีพช่าง

3.นชท.ภาคสมทบ (ปวส.) เป็นนักเรียนไป-กลับ เมื่อสำเร็จการศึกษาจะไม่มีข้อผูกพันกับทางราชการ

สาขาวิชาที่เปิดสอนระดับ ปวช.

1.วิชาชีพช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล (ชบ.) [Maintenance Trade] [MT] ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการอ่านและการเขียนแบบซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล แบบวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น งานบำรุงรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลในโรงงาน งานตรวจสอบและปรับเปลี่ยนชิ้นส่วน
ของเครื่องจักรกล งานติดตั้งเครื่องจักรกล ระบบปั๊มและท่อ ระบบเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ประกอบและติดตั้งทดสอบสมรรถนะของเครื่องจักรกล รวมทั้งสร้างชิ้นส่วนตามแบบที่กำหนด


2.วิชาชีพช่างเครื่องมือกล (ชก.) [Mechanic Trade] [MN] ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานเครื่องมือกลทุกชนิดอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น งานกลึงขึ้นรูป งานกลึงเกลียว งานกลึงโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ งานกลึงด้วยเครื่องกลึงอัตโนมัติ งานกัด งานไส งานเจียระไน งานเจาะ งานคว้าน งานอบชุบ งานวัดละเอียด งานเครื่องมือกลในการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล งานแม่แบบสำหรับงานผลิตต่าง ๆ ตามแบบที่กำหนด รวมทั้งงานวิเคราะห์หาสาเหตุข้อบกพร่อง และการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรกล


3.วิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ (ชล.) [Welding Trade] [WD] ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ งานเชื่อมโลหะด้วยแก๊ส งานเชื่อมประสาน งานเชื่อมโลหะต่าง ๆ ด้วยเครื่องเชื่อมชนิดอัตโนมัติ งานเชื่อมมิก งานเชื่อมพลาสติก งานโลหะแผ่น งานระบบท่อภาย
ในอาคาร งานติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์ งานเชื่อมท่อแรงดัน งานผลิตโครงสร้างเหล็ก งานประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยโลหะประเภทต่าง ๆ งานตรวจสอบแนวเชื่อม งานทดสอบแนวเชื่อม งานบัดกรีแข็ง งานอบชุบโลหะ งานโครงสร้าง
อะลูมิเนียม รวมทั้งงานเชื่อมและตัดใต้น้ำ


4.วิชาชีพช่างยานยนต์ (ชย.) [Auto Mechanic Trade] [AM] ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เครื่องยนต์ดีเซล ระบบส่งกำลังรถยนต์ เครื่องล่างรถยนต์ ไฟฟ้ารถยนต์ ระบบปรับอากาศในรถยนต์ งานเครื่องยนต์เล็ก
งานจักรยานยนต์ งานเคาะตัวถังและงานสีรถยนต์ งานกู้ซ่อม การขับขี่ยานยนต์ และการบำรุงรักษารถยนต์ตามคู่มือ


5.วิชาชีพช่างไฟฟ้ากำลัง (ชฟ.) [Electric Power Trade] [EP] ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานช่างไฟฟ้ากำลัง งานไฟฟ้าภายในอาคาร งานไฟฟ้าภายนอกอาคาร ไฟฟ้าอุตสาหกรรม ตรวจซ่อมบำรุงเครื่องจักรไฟฟ้า งานซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารและสำนักงาน เครื่อง
กำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลงงาน ซ่อมบำรุงรักษาและทดสอบมอเตอร์ไฟฟ้า งานควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยโปรแกรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบต่าง ๆ งานเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ


6.วิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ (ชอ.) [Electronic Trade] [EN] ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจซ่อม ปรับแต่ง ติดตั้ง ตลอดจนบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ งานสื่อสารโทรคมนาคม งานระบบภาพ ระบบเสียง งานโทรทัศน์วงจรปิด งานโทรทัศน์สี-ขาวดำ
งานระบบวิดีทัศน์ งานคอมพิวเตอร์ งานแบบติดตั้งและทดสอบงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม



คุณสมบัติของผู้สมัคร (ปวช.) ภาคปรกติ

1.สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) (คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00)

2.เป็นชายโสด อายุ 15-18 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ 1 เมษายน ของปีที่จะเข้ารับการศึกษา

3.มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด บิดา มารดา เป็นสัญชาติไทย



สิทธิ์และเงื่อนไขระหว่างเรียน

1.ได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 87 บาท

2.วัสดุฝึกทางโรงเรียนจัดหาให้

3.มีประกันชีวิต

4.เป็นนักเรียนอยู่ประจำ (ทางโรงเรียนมีหอพักให้)



เมื่อสำเร็จการศึกษา

1.ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

2.ทางราชการจะบรรจุเข้ารับราชการทหารในหน่วยราชการ สังกัดกระทรวงกลาโหม

3.ได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวรวมประมาณ 8,200 บาท

คุณสมบัติของผู้สมัคร (ปวช.) ภาคสมทบ

1.สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3)

2.เป็นชายโสด/หญิงโสด อายุไม่เกิน 22 ปี

3.มีสัญชาติไทย

4.ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

5.ไม่เคยถูกไล่ออกหรือให้ออกจากสถานศึกษาอื่น

6.ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างเป็นจำเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาโทษจำคุก หรือความผิดอันกระทำโดยประมาท



สิทธิ์ที่จะได้รับ

1.มีเรียนและฝึกวิชาทหาร (รด.)

2.ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เมื่อสำเร็จการศึกษา และสามารถศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสถาบันอื่นได้

3.สำเร็จการศึกษาแล้วไม่ได้รับการบรรจุเป็นราชการทหาร



สาขาวิชาที่เปิดสอนระดับ ปวส.

1.วิชาช่างเทคนิคยานยนต์

2.วิชาช่างอุตสาหกรรมการผลิต

3.วิชาช่างเครื่องกลไฟฟ้า

4.วิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม



คุณสมบัติของผู้สมัคร (ปวส.)

1.สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาชีพ หรือเทียบเท่าตามความต้องการของแต่ละสาขาวิชาช่างกำหนด ดังนี้

1.1 สาขาวิชาช่างเทคนิคยานยนต์ -สำเร็จการศึกษา ปวช. สาขาวิชาชีพ หรือเทียบเท่า สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล สาขาวิชาชีพช่างยานยนต์ สาขาวิชาชีพช่างเครื่องกลอุตสาหกรรม สาขาวิชาชีพช่างเครื่อง
กลเกษตร

1.2 สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมการผลิต -สำเร็จการศึกษา ปวช. สาขาวิชาชีพ หรือเทียบเท่า สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง สาขาวิชาโลหะการ สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างต่อเรือ สาขาวิชาช่างยนต์ สาขาวิชาช่างกล
โรงงาน สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุง สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาชีพช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล สาขาวิชาชีพช่างเครื่องมือกล สาขาวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะ สาขาวิชาชีพช่างยานยนต์ สาขาวิชาชีพช่างเครื่องกลอุตสาหกรรม สาขาวิชาชีพช่างเครื่องกลเกษตร สาขาวิชาชีพช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาชีพช่างท่อและโลหะแผ่น สาขาวิชาชีพช่างเชื่อมประสาน

1.3 สาขาวิชาช่างเครื่องกลไฟฟ้า -สำเร็จการศึกษา ปวช. สาขาวิชาชีพ หรือเทียบเท่า สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาชีพช่างไฟฟ้ากำลัง

1.4 สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม -สำเร็จการศึกษา ปวช. สาขาวิชาชีพ หรือเทียบเท่า สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาชีพช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาชีพช่าง
อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาชีพช่างไฟฟ้า 2.มีความประพฤติเรียบร้อย 3.มีร่างกายแข็งแรง และเหมาะสมในการเรียนวิชาช่างนั้น ๆ 4.ถ้าหากเป็นข้าราชการ หรือลูกจ้าง (ต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัดอนุญาตให้มาสมัครได้)





กำหนดการรับสมัคร 1.จำหน่ายระเบียบการ ประมาณวันที่ 15 ธันวาคม 2551-10 กุมภาพันธ์ 2552 ที่โรงเรียนช่างฝีมือทหาร 2.รับสมัครทางไปรษณีย์ ประมาณวันที่ 17 ธันวาคม 2551-22 มกราคม 2552 3.สมัครด้วยตนเอง ประมาณวันที่ 4-10 กุมภาพันธ์ 2552
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร ซ.พหลโยธิน 30 (อาลาดิน) แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร.0-2511-0117, 0-2930-3480 ในเวลาราชการ



ครูในฝันรุ่นแรกเตรียมปฏิบัตงาน ทุกคนได้ครองตำแหน่งทั้งหมด


นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวในการเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อเตรียมการบรรจุนักศึกษาทุนโครงการผลิต ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) รุ่นปีการศึกษา 2547 ว่า การดำเนินโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) ที่ผ่านมามีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมเป็นสถาบันผลิตครูในโครงการฯ จำนวน 50 แห่ง สามารถรับนักศึกษาทุนได้จำนวน 2,139 คน ใน 8 กลุ่มสาขาวิชา คือ 1) สาขาคณิตศาสตร์ 2) สาขาวิทยาศาสตร์ 3) สาขาภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วยภาษาอังกฤษและภาษาจีน 4) สาขาภาษาไทย 5) สาขาสังคมศึกษา 6) สาขานาฏศิลป์/ดุริยางคศิลป์/ศิลปศึกษา 7) สาขาการศึกษาปฐมวัย และ 8) สาขาการศึกษาพิเศษ ซึ่งเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2550 พบว่า นักศึกษาที่ยังคงสภาพผู้รับทุนการศึกษา มีจำนวน 2,041 คน คิดเป็นร้อยละ 95.42 ของจำนวนผู้รับทุน เนื่องจากนักศึกษาที่รับทุนต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยในแต่ละปีการศึกษาไม่ต่ำ กว่า 2.75ครูในฝันรุ่นแรกเตรียมปฏิบัตงาน ทุกคนได้ครองตำแหน่งทั้งหมด
" การดำเนินงานที่ผ่านมา สกอ. ได้ประสานงานและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู ตั้งแต่การผลิตครู การพัฒนาครู การควบคุมวิชาชีพครู และการบริหารงานบุคคลครู เพื่อร่วมกันสร้างครูรุ่นใหม่ที่มีความรู้ลึกซึ้งทางวิชาการ มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และมีจิตวิญญาณความเป็นครู ให้กับระบบการศึกษาของประเทศ โดยออกแบบหลักสูตรการผลิตครูรุ่นใหม่ที่ใช้เวลาในการศึกษา 5 ปี ให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพครูที่คุรุสภากำหนด เพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา สามารถได้รับใบประกอบวิชาชีพครู สร้างกระบวนการคัดเลือกที่สามารถดึงคนดีคนเก่งเข้ามาเรียนครู พร้อมทั้งจัดกิจกรรมเสริมเพื่อสร้างทักษะความเป็นครู และการอยู่ร่วมกันในสังคมตลอดระยะเวลาของการศึกษา นอกจากนี้นักศึกษาทุนที่สำเร็จการศึกษาตามเงื่อนไขของโครงการฯ มีตำแหน่งรองรับและพร้อมที่จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. " เลขาธิการ กกอ. กล่าว
เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ในการเตรียมบรรจุนักศึกษาทุน สกอ. ได้ประสานกับ สพฐ. เพื่อเตรียมอัตราการบรรจุนักศึกษาทุนโครงการฯ ซึ่งขณะนี้ สพฐ. ได้จัดเตรียมอัตราเกษียณอายุราชการที่ได้กลับคืนมาเป็นอัตราการบรรจุนัก ศึกษาทุนทุกคนแล้ว ดังนั้น เพื่อซักซ้อมความเข้าใจแนวทางการบรรจุนักศึกษาทุนเพื่อเข้ารับราชการครูใน สถานศึกษาสังกัด สพฐ. และเพื่อให้นักศึกษาทุนรับทราบเส้นทางความก้าวหน้าวิชาชีพครู ตามกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนสร้างเครือข่ายนักศึกษาทุนโครงการฯ ร่วมใจกันพัฒนาวิชาชีพครูให้มีคุณภาพที่ดีในอนาคต จึงอยากขอให้ นักศึกษาทุน ที่จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการครู นำความรู้ความสามารถที่รับและประสบการณ์ตลอดระยะเวลา 5 ปี ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ พัฒนาการปฏิบัติงานในสถานศึกษา ชุมชน และสังคมที่ไปอยู่ รวมทั้ง ร่วมพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ เป็นครูรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญเชิงวิชาการ มีคุณภาพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู และมีความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป









สกศ. วางแนวทางปฏิรูปการศึกษายก2 ตั้งสถาบันครุศึกษา

นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) แถลงเรื่องการปฏิรูปการศึกษารอบสอง เมื่อวันที่ 1 เมษายน ว่า ได้ข้อสรุปไว้ว่าจะดำเนินการ 3 เรื่อง คือ 1.ยกคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต ตั้งแต่ปฐมวัยเป็นต้นไป

2.มีระบบบริหารจัดการใหม่ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของเอกชนและทุกภาคส่วน และ

3.มีครูยุคใหม่ ทั้งครูรุ่นใหม่และครูเก่าที่จะเป็นผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ โดยมีข้อเสนอเบื้องต้นที่จะนำไปสู่ 3 เป้าหมายใหม่ คือ จัดตั้งสถาบันครุศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาครู รวมทั้งตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมไปถึงการแก้ไขกฎระเบียบเพื่อการบริหารจัดการแนวใหม่ ข้อเสนอดังกล่าวจะมีการประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 21 เมษายนนี้ เพื่อสรุปเสนอคณะกรรมการ สกศ.ในเดือนพฤษภาคม

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ในการจัดการเรียนการสอนครูจำเป็นต้องใช้กระบวนการเรียนการสอน เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจให้มากที่สุด


1.กระบวนการความคิดรวบยอด
1. สังเกต2. จำแนกความแตกต่าง3. หาลักษณะร่วม4. ระบุชื่อกับความคิดรวบยอด5. ทดลองนำไปใช้

2.กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
1. สร้างความคิดรวบยอด2. การอธิบาย3. การรับฟัง 4. การเชื่อมโยงความสัมพันธ์5. วิเคราะห์ วิจารณ์

6. สรุป

3.กระบวนการฝึกปฏิบัติ
1. สังเกตและรับรู้2. ทำตามแบบ3. ทำเองโดยไม่มีแบบ4. ฝึกให้เกิดความชำนาญ

4.กระบวนการสร้างเจตคติ
1. สังเกต2. วิเคราะห์ 3. สรุป

5.กระบวนการสร้างค่านิยม
1. สังเกต2. วิเคราะห์3. เลือกกำหนดเป็นค่านิยม4. เห็นคุณค่าและนำไปปฏิบัติ5. สรุปเป็นค่า่นิยม

6.กระบวนการกลุ่ม
1. การมีผู้นำกลุ่ม2. กำหนดจุดประสงค์3. แสดงความคิดเห็น4. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

7.กระบวนการความรู้ความเข้าใจ
1. สังเกต สร้างความตระหนัก2. วางแผนปฏิบัติ3. ลงมืือปฏิบัติ4. พัฒนาความรู้ความเข้าใจ5. สรุปสาระสำคัญ

8.กระบวนการสร้างความตระหนัก
1. สังเกตุ2. วิจารณ์3. สรุป

9.กระบวนการแก้ปัญหา
1. สังเกต2. วิเคราะห์3. สร้างทางเลือก4. การเก็บรวบรวมข้อมูล5. สรุป

10.กระบวนการทางคณิตศาสตร์
1. ทำความเข้าใจโจทย์ปัญหา2. กำหนดวิธีแก้โจทย์ปัญหา3. หาคำตอบโดยคิดคำนวณ

11.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. กำหนดปัญหา2. ตั้งสมมุติฐาน3. ทดลองหรือเก็บข้อมูล4. วิเคระาห์ข้อมูล5. สรุปผล

12.กระบวนการเฉพาะทางภาษาศาสตร์
1. ทำความเข้าใจสัญลักษณ์2. สร้างความคิดรวบยอด3. สื่อความหมาย ความคิด4. พัฒนาความสามารถ

13.กระบวนการเรียนการสอน 9 ประการ
1. ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น2. คิด วิเคราะห์ วิจารณ์ 3. สร้างทางเลือกหลากหลาย4. ประเมินผลเลือกทางเลือก5. วางแผนการปฏิบัติ 6. ปฏิบัติอย่างชื่นชม7. ประเมินระหว่างปฏิบัติ8. ปรับปรุงแก้ไข

9. ประเมินผลรวมให้เกิดความภาคภูมิใจ



ที่มา http://school.obec.go.th/banbungnajan/process.htm

สพฐ.เตรียมบรรจุนักศึกษาทุนครูหลักสูตร 5 ปี กว่า 2 พันคน ลงร.ร.ในพื้นที่ภูมิลำเนาของเจ้าตัว พร้อมเปิดสอบครูในปีนี้อีก 24 เขตพื้นที่การศึกษา เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2552 คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมบรรจุนักเรียนทุนโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี รุ่นแรกที่เพิ่งจบการศึกษาในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เข้าเป็นครูประจำสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านเกิดของเจ้าตัว ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขผูกผันของโครงการนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ส่งรายชื่อและข้อมูลของนักเรียนทุนซึ่งมีทั้งหมด 2,041 คน มาให้ เพื่อจะได้มอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) แต่ละแห่งรับไปดูแล คุณหญิงกษมา กล่าวอีกว่า นักเรียนทุนทุกคนจะต้องรับการทดสอบเบื้องต้นก่อนบรรจุเป็นครู เช่น การสอบสัมภาษณ์ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่นักเรียนทุนมีภูลำเนาอยู่ เมื่อผ่านการทดสอบเบื้องต้นแล้ว นักเรียนทุนที่ได้คะแนนทดสอบสูงจะมีสิทธิเลือกลง ร.ร.ก่อน โดย สพฐ.จะพยายามบรรจุนักเรียนทุนลง ร.ร.ที่อยู่ในอำเภอบ้านเกิดของเจ้าตัว แต่หาก ร.ร.ในเขตพื้นที่การศึกษาที่เป็นภูมิลำเนามีตำแหน่งว่างไม่ตรงกับสาขาวิชา เอกของนักศึกษา ก็ให้เปลี่ยนไปบรรจุ ร.ร. ที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาข้างเคียงที่เปิดรับครูตรงตามสาขาวิชาเอกของนัก เรียนทุน แต่ถ้าร.ร.ในเขตพื้นที่การศึกษาข้างเคียงไม่เปิดรับ สพฐ.จะพยายามบรรจุให้อยู่ในภายในจังหวัดกันหรือจังหวัดติดต่อกัน “สพฐ. ได้สั่งการไปยัง สพท.ทุกแห่ง ให้เร่งสำรวจว่า ร.ร.ในพื้นที่แห่งใดบ้างที่ต้องการครูใหม่ พร้อมเร่งขออนุมัติจากคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำเขตพื้นที่การศึกษาของตัวเอง ออกประกาศรับสมัครนักเรียนทุนเหล่านี้ ภายใน 16 เม.ย.นี้ เพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้เสร็จบรรจุภายใน 15 พ.ค. นี้ สำหรับอัตราที่นำมาบรรจุนักเรียนทุนนั้น กั้นมาจากอัตราที่ได้คืนจากจำนวนครูที่เข้าโครงการเออรี่รีไทม์ในปีที่ผ่าน มา ขอให้นักเรียนทุนที่จบการศึกษาทุกราย เร่งไปขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยเร็ว เพื่อให้ทันกับการบรรจุเป็นครู ทั้งนี้ นักเรียนทุนหลักสูตรครู 5 ปีนั้น จะต้องเป็นผู้ที่เรียนได้ผลการเรียนการเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 ในทุกภาคเรียน"เลขาธิการกพฐ. กล่าว คุณหญิงกษมา กล่าวต่อไปว่า สพฐ.ยังเตรียมเปิดสอบบรรจุบุคคลทั่วไปบรรจุเป็นครูในปี 2552 นี้ด้วย โดยมีเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 24 เขต ขอเปิดสอบครูใน 36 วิชา แต่ยังไม่ทราบยอดรวมจำนวนครูที่จะรับ ทั้งนี้ทาง สพฐ.ขอให้เขตพื้นที่ฯที่จะเปิดสอบครู เร่งขออนุญาต อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ออกประกาศรับสมัครภายใน 16 เม.ย.เช่นกัน แต่ขั้นตอนการสอบบรรจุบุคคลทั่วไปเป็นครูนั้น มีขั้นตอนต่าง ๆ กินเวลามากกว่าการับนักเรียนทุน 5 ปีเป็นครู เพราะฉะนั้น คาดว่า ครูใหม่กลุ่มนี้จะบรรจุได้ในเดือน มิ.ย. อย่างไรก็ตาม ปีนี้ เป็นปีที่ สพฐ.จะสามารถบรรจุครูใหม่ได้มาก เพราะได้อัตราครูเกษียณก่อนกำหนด(เออร์ลี่) คืนมา 12,039 คน และได้อัตราเกษียณตามปกติคืน 5,139 คน



ที่มา Ncc.co.th

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เทคนิคการถ่ายภาพชัดตื้น - ชัดลึก


ควรใช้ขาตั้งกล้องเพื่อให้ภาพที่ได้ระดับ หรือเป็นมุมเดียวกัน

และป้องกันภาพสั่นไหวเมื่อปรับช่องรับแสงแคบ



---------------------------------------------------------------



เทคนิคการถ่ายภาพบุคคลระยะใกล้โดยใช้แสงธรรมชาติ
- เปิดช่องรับแสงให้กว้างเพื่อให้ฉากหลังเบลอ เน้นความเด่นของบุคคลผู้เป็นแบบ
- ใช้แสงที่อ่อน เช่นแสงแดดในตอนเช้า หรือตอนเย็น
- ใช้อุปกรณ์อื่นร่วมด้วย เช่น แผ่นสะท้อนแสง ขาตั้งกล้อง เป็นต้น
-เน้นแววตาที่เป็นประกายสดใส
- ใส่เสื้อผ้าให้ตัดกับฉากหลัง





--------------------------------------------------------------------------



เทคนิคการถ่ายภาพทีเผลอ (Candid)


ภาพทีเผลอ คือการถ่ายภาพที่บุคคลที่ถูกถ่ายไม่รู้ตัว

อาจเป็น กริยา อาการ การกระทำ ที่ดูน่าสนใจ หรือแปลกแตกต่างจากปกติ
1. ผู้ถ่ายต้องมีมุมมองใหม่ๆ เสมอ และมีความรวดเร็วในการใช้กล้อง
2. รายละเอียดปลีกย่อยในภาพจะต้องไม่ดึงความน่าสนใจของตัวแบบ
3. สามารถถ่ายทอดอารมณ์ของตัวแบบในภาพออกมาได้







---------------------------------------------------------------------------


เทคนิคการถ่ายภาพไฟกลางคืน

การถ่ายภาพในเวลากลางคืนจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ
ขาตั้งกล้อง และสายลั่นชัตเตอร์ เนื่องจากต้องใช้ Shutter Speed ต่ำ
ทำให้ไม่สามารถยืนถ่ายได้แบบปกติ หลักการถ่ายภาพไฟกลางคืนอย่างง่าย คือ
1. เปิดช่องรับแสงไม่ต่ำกว่า 8 หากเปิดกว้างเกินไปจะทำให้รูปที่ได้มีแสงฟุ้งมาก
2. ไม่ควรใช้ Shutter Speed เกิน 3 นาที เพราะถ้ากล้องเกิดการสั่นไหวจะทำให้ภาพนั้นเสียไป

3. หากไม่มีสายลั่นชัตเตอร์ ควรใช้การตั้งเวลาในการถ่ายภาพเพื่อป้องกันการสั่นไหว
4. หากต้องการถ่ายพลุ ควรหามุมถ่ายบนอาคารสูง หรือจุดที่อยู่ห่างจากพลุพอสมควร
5. เพิ่มความสวยของแสงไฟด้วยฟิลเตอร์ชนิดพิเศษ
6. ไม่จำเป็นต้องใช้ค่า ISO สูงมากเกินไป

** * การถ่ายภาพในเวลากลางคืนควรไปเป็นหมู่คณะเพื่อความปลอดภัยของผู้ถ่ายภาพ





------------------------------------------------------------------------

เทคนิคการถ่ายภาพ Stop Action
ภาพ Stop Action คือการหยุดนิ่งบุคคลหรือวัตถุ
ให้หยุดนิ่งด้วยกริยาที่แตกต่างจากปกติ
หรือการลอยอยู่เหนือ


พื้นดิน ใช้หลักง่ายๆ คือ
- ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 500 - 4000
- ดูฉากหลังไม่รกจนเกินไป
- ไม่ควรถ่ายรถที่วิ่งตามปกติบนท้องถนน
- วัตถุในภาพต้องไม่เล็กจนเกินไป




----------------------------------------------------------------------------


เทคนิคการถ่ายภาพทิวทัศน์

- เปิดหน้าเลนส์ให้กว้าง ใช้ช่องรับแสงให้แคบ
- เดินมากๆ เพื่อหามุมภาพสวยๆ
- ลองนำเทคนิคเงาดำเข้ามาใช้
- หากถ่ายภาพน้ำตก ลองใช้ชัตเตอร์ต่ำ
- เนื้อหาในภาพมีรายละเอียด หน้า กลาง หลัง
- ไม่แบ่งเส้นขอบฟ้าอยู่กลางภาพ








---------------------------------------------------------------------------


เทคนิคการถ่ายภาพ Panning

การ Pan คือการทำให้วัตถุในภาพดูเคลื่อนไหวด้วยความเร็ว
มีหลักการง่ายๆ คือ
- ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่า 40
- ดูฉากหลังไม่รกจนเกินไป
- วัตถุเด่นในภาพควรมีจุดเดียว
- เหลือเนื้อที่ด้านหน้าวัตถุพอสมควร









---------------------------------------------------------------------------



เทคนิคการถ่ายภาพอาชีพ

การถ่ายภาพประเภทนี้ ควรสื่อให้เห็นถึงวิถีของการประกอบอาชีพให้ชัดเจน
1. เสน่ห์ของการถ่ายภาพประเภทนี้ควรถ่ายจากการประกอบกิจกรรมจริงๆ โดยไม่ต้องจัดฉาก
2. จะต้องสื่อให้ชัดว่าประกอบอาชีพอะไร พยายามขจัดส่วนเกินอื่นๆ ออกไป
3. นำการเล่นมุมกล้องแบบต่างๆ เข้ามาเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพ






-------------------------------------------------------------------------------

เทคนิคการถ่ายภาพสัตว์



- เลือกสัตว์ที่ดูน่ารัก น่ามอง


- เน้นแววตาที่สดใส มีชีวิตชีวา


-ถ่ายให้สัตว์เด่น ไม่เน้นฉากหลัง



- ไม่ถ่ายให้สัตว์ตัวเล็กจนเกินไป





---------------------------------------------------------------------

เทคนิคการถ่ายภาพดอกไม้

- ฉากหลังจะต้องไม่รกจนเกินไป (สามารถใช้กระดาษสีดำ หรือสีเขียวซ้อนเป็นฉากหลังได้)
- หากต้องการพรมน้ำดอกไม้ให้ดูสดชื่นควรดูเรื่องแสงด้วยว่าแสงแข็งหรือไม่
-แสงต้องเข้าด้านข้าง หากเข้าด้านหน้าตรงๆ จะทำให้ภาพดูแบนไร้มิติ
- เลือกดอกไม้ที่ไม่มีตำหนิน้อยที่สุด








วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552


สอนเหลือกูเกลียด สอนละเอียดกูงง


บอกตรงๆกู ขี้เกียจเรียน


เรียนไปก็ไร้ค่า ตายห่าก็ลืมหมด


สอบได้เป็นเรื่องตลก สอบตกเป็นเรื่อธรรมชาติ


การบ้านคือยาพิษ เสาร์อาทิตย์คือสวรรค์


วันจันคือนรก สมุดพกคือวันตาย


ใดใดในโลกอนิจจัง ไม่อ่านยังสอบได้


กูอ่านแล้วไซร้สอบตก เพราะฉนั้นไซร้อย่าอ่านแม่งเลย


ระดับประถมศึกษา
1. ในระดับประถมศึกษา เด็ก ๆ จะต้องรู้วิชาพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอ่านแผนที่ การเขียนตลอดจนไวยากรณ์ ดังนั้น คุณควรจะทำให้คุ้นเคยกับวิชาต่าง ๆ ที่ลูกเรียน 2. สร้างแบบฝึกหัดทดสอบ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความรู้และให้เด็กได้รับความสนุกสนาน ไปพร้อมกันเป็นต้นว่าก่อนที่ลูกของคุณจะทำข้อสอบไวยากรณ์หรือตัวสะกด ให้คุณเขียนจดหมายถึงลูก เล่าถึงสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในครอบครัว อาทิ แผนการท่องเที่ยว หรือ สถานการณ์ต่าง ๆ โดยไม่ใส่เครื่องหมายวรรคตอนใด ๆ และเขียนตัวสะกดผิดไว้หลายแห่ง จากนั้นจึงให้ลูกแก้จดหมายให้ถูกต้อง 3. ตำราระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ มีตัวอย่างคำถามข้อสอบท้ายบทเรียนแต่ละบท ให้ลูกของคุณหมั่นทบทวนบทเรียนต่าง ๆ แล้วจึงถามเขาและให้เขาฝึกตอบ 4. สอนลูกของคุณให้รู้จักฟังคำพูดสำคัญของครู ในเวลาสอน ซึ่งอาจจะออกสอบต่อไปเช่น ครูพูดว่า "ต่อไปนี้ จงตั้งใจฟัง" ครูต้องการให้นักเรียนเข้าใจตรงจุดนี้" สิ่งเหล่านี้จะเป็นเสมือน "แนวข้อสอบ" ให้จดจำไว้ทำสอบต่อไป 5. เมื่อทราบว่าจะมีการทดสอบ ให้ลูกทบทวนเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ถามลูกของคุณว่าเขาเรียนอ่อนเรื่องใดมากที่สุด แล้วให้ความช่วยเหลือเมื่อยามต้องการ


ระดับมัธยมศึกษา
1. เน้นความสำคัญในการหมั่นทำการบ้าน และหากเป็นไปได้ ให้ลูกของคุณทำการบ้านพิเศษเพิ่มเติม เพราะ ยิ่ง เขาให้เวลาทำการบ้านวิชานั้นมากขึ้นเท่าไร เขาก็ยิ่งได้รับความรู้มากขึ้นเท่านั้น 2. เตรียมตัวล่วงหน้าก่อนสอบ นักการศึกษาส่วนใหญ่เชื่อว่า "การกวดวิชา" ไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากไปกว่าการได้รับความรู้แบบชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งเด็กจะลืมหมดเมื่อสิ้นสุดการสอนดังนั้นคุณจึงควรช่วยลูกวางแผนในการทำข้อสอบล่วงหน้าโดยทบทวนเนื้อหาวิชาที่จะออกสอบอย่างเป็นระเบียบแบบแผน แล้วลูกของคุณจะมีโอกาสทำข้อสอบได้ดีขึ้น อีกทั้งยังได้รับความรู้เพิ่มขึ้นหลังจาการสอบ 3. ส่งเสริมให้ลูกจดบันทึก และร่างสรุปความเนื้อหาวิชาขณะที่กำลังเรียนจะเป็นการช่วยทบทวนบทเรียนอย่างมากเพื่อการสอบในครั้งต่อไป 4. แนะนำให้ลูกรู้จักการ "เรียนเป็นกลุ่ม" ก่อนทำข้อสอบ สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วยเพื่อนนักเรียนในก้องเดียวกันหรือสมาชิกครอบครัวที่มีความรู้ในวิชาเดียวกัน


การสอบเข้ามหาวิทยาลัย
1. ในบางประเทศนักเรียนที่ต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องผ่าน การทำข้อสอบระดับมาตรฐาน ที่เรียกว่า SAT หรือ ACT เสียก่อนการที่จะทำข้อสอบได้ดี ก็จะต้องมีการเตรียมตัวศึกษาข้อสอบอย่างมีระเบียบแบบแผน นักศึกษาจะมีเวลาหลายเดือนในการเรียนและทบทวนเนื้อหาวิชาก่อนการสอบเข้ามหาวิทยาลัย คุณควรให้ลูกหลานของคุณใช้เวลาน้อยวันละ ครึ่ง ชั่วโมง ในการทบทวนเนื้อหาวิชาที่จะสอบโดยเน้นวิชาที่เรียน อ่อนเป็นพิเศษ 2. ลงทุนซื้อหนังสือติวข้อสอบให้สักหนึ่งเล่มหรือหลายเล่ม ซึ่งในหนังสือจะมีตัวอย่างคำถาม ที่จะช่วยให้เข้าใจลักษณะข้อสอบโดยรวมมากขึ้น รวมทั้งเนื้อหาวิชาที่จะออกสอบ SAT หรือ ACT ให้สักหนึ่งเล่มซึ่งในหนังสือจะมีตัวอย่างคำถามที่จะช่วยให้เข้าใจลักษณะข้สอบโดยรวมมากขึ้นรวมทั้งเนื้อหาวิชาที่จะออกสอบ 3. สอนลูกว่าจะแบ่งเวลาอย่างไรก่อนจะทำข้อสอบ เขาควรจะอ่านข้อสอบคร่าว ๆ เสียก่อน เพื่อคะเนความยาว และความยากของข้อสอบ จดว่าข้อสอบมีกี่คำถามและกี่ส่วนเพื่อที่จะแบ่ง ๆ เวลาทำข้อสอบ ทำข้อที่รู้คำตอบเป็นอย่างดีเสียก่อน แล้วจึงกลับไปยังข้อที่แทบจะทำไม่ได้หรือไม่ได้เอาเลยและพยายามรักษาเวลาด้วย เมื่อเดาคำตอบได้แล้ว จึงเลือกคำตอบข้อที่ดีที่สุดและห้ามกลับไปเปลี่ยนคำตอบ 4. ควรให้ลูกไปเรียนเพิ่มเติมตามโรงเรียนพิเศษ ที่โฆษณาว่าสอนนักเรียน ทำข้อสอบมาตรฐานได้ รวมทั้งวิธีการทำข้อสอบ และการคลายเครียด ระหว่างทำข้อสอบการทำข้อสอบเป็นประสบการณ์ที่ยากลำบากและเต็มไปด้วยความเครียดสำหรับนักเรียนในทุกระดับชั้นการศึกษา ในฐานะที่เป็นพ่อแม่ คุณควรจะช่วยลูกของคุณอย่างดีที่สุด โดยการช่วยสร้างความมั่นใจ และความนับถือตนเองให้แก่ลูกของคุณ ทั้งนี้จะทำให้เขาแสดงความสามารถออกมาได้อย่างเต็มที่

พระศรีญาณโสภณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) กล่าวว่า ตามที่ มมร.ได้ดำเนินการโครงการช่วยเหลือเด็กที่มีฐานะยากจน โดยส่งให้ไปบวชเรียนตามโรงเรียนพระปริยัติธรรมต่าง ๆ
ซึ่งปรากฏว่าผู้เรียนส่วนใหญ่เมื่อเรียนจบแล้วต้องการได้รับปริญญา โดยไปศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ซึ่ง มมร.เห็นว่าหากมีการตั้งโรงเรียนขึ้นมาเองจะทำให้มีความสะดวก และนักศึกษาพระได้เรียนตรงสายมากขึ้น
ดังนั้น มมร.จึงได้จัดตั้งโรงเรียนสาธิต มมร. ขึ้น โดยเปิดสอนทั้งแผนกสามัญศึกษา และแผนกธรรม-บาลีควบคู่กัน ซึ่งผู้เรียนไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะเป็นโครงการที่ต้องการช่วยเหลือเด็กยากจนให้ได้รับการศึกษา และเมื่อจบชั้นม.6 ก็จะเปิดโอกาสให้เข้าไปศึกษาต่อใน มมร.ด้วย พระศรีญาณโสภณ กล่าวต่อไปว่า ในปีการศึกษา 2552 นี้เป็นปีแรกที่โรงเรียนสาธิต มมร.เปิดทำการสอน โดยมีนักเรียนรุ่นแรก 60 รูป จัดการสอนตั้งแต่ระดับชั้น ม.1-ม.6 ทั้งสายสามัญฯ และธรรม-บาลี แบ่งเป็นสายสามัญฯ 3 ชั่วโมง และธรรม-บาลี อีก 3 ชั่วโมง ซึ่งผู้เรียนจะได้ศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม
นอกจากนี้ จะมีการสอนแนวทางการเทศน์ การจัดรายการวิทยุธรรมะ สอนการพูดภาษาอังกฤษ รวมทั้งมีรายวิชาที่ให้นักเรียนออกไปฝึกประสบการณ์ในการเทศน์สั่งสอนด้วย เพราะปัจจุบันจำนวนพระนักเทศน์ที่เก่ง ๆ มีจำนวนลดลง.



10 วิธีเรียนยังไงให้เก่ง
1.มีโต๊ะและเก้าอี้สำหรับนั่งเรียนหนังสือที่บ้าน จำไว้ว่าสิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เรามีสมาธิในการเรียน
2.ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าจะอ่านแต่ละวิชา หรือทำการบ้านมากน้อยแค่ไหนและลงมือทำอย่างเต็มที่จนเสร็จ
3.บางวิชาที่ยากๆให้รวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ช่วยกันติว ช่วยกันเรียน ผลัดกันค้นคว้า ตั้งคำถาม จะช่วยให้เก่งกันยกกลุ่ม
4.มีเวลาอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนทุกๆวัน วันละนิดวันละหน่อย ฝึกจนเป็นนิสัย อย่าตั้งใจเรียนหนังสือเป็นพักๆ
5.ฝึกทักษะการเรียนอยู่เสมอๆ เช่น ฝึกอ่านให้เร็วขึ้น จดบันทึกเป็นระบบ จัดระเบียบความคิด และ สรุปเนื้อหาจะช่วยในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
6.นั่งใกล้ครูมากที่สุด จะได้ไม่มีอะไรมาดึง ความสนใจในการเรียนของเรา
7.ทำการบ้านหรือรายงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จทันเวลา ข้อนี้สำคัญมาก เพราะถ้าทำเสร็จเร็วเท่าไร จะมีเวลาอ่านหนังสือมากขึ้น
8.จัดลำดับความสำคัญของวิชาที่ต้องทำ เช่น วิชาไหนด่วนที่สุด หรือหัวข้อไหนไม่เข่าใจ ต้องเรียงลำดับไว้ และ ทำ ตามให้ได้
9.ทำความเข้าใจว่าครูผู้สอนแต่ละวิชามีการให้คะแนนอย่างไร คะแนนเก็บเท่าไร คะแนนสอบเท่าไร วางแผนทำคะแนนให้ดีในแต่ละส่วน
10.สำคัญที่สุดในการเรียน ก็คือมุ่งมั่นตั้งใจเรียนไม่มีใครช่วยเราได้ ถ้าตัวเราเองไม่อยากเรียนเก่ง เพราะฉะนั้นจำไว้ว่า Work Smart , Not Hard