วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทวิทยุกระจายเสียง หมายถึง ข้อความที่บอกกล่าว เล่าเรื่อง เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นรายละเอียดของรายการวิทยุกระจายเสียงตั้งแต่ต้นจนจบรายการอย่างมีลำดับขั้นตอน เพื่อใช้ถ่ายทอดด้วยเสียงให้ผู้ฟังจินตนาการเป็นภาพตรงตามวัตถุประสงค์ผู้บอกกล่าว ตลอดจนทำให้รายการดำเนินไปอย่างมีทิศทางตามขอบเขตเนื้อหา รูปแบบรายการที่กำหนดไว้ ความสำคัญของบทวิทยุกระจายเสียง เป็นสิ่งที่บอกเนื้อหาสาระ รูปแบบ ลำดับการนำเสนอ ตลอดจนรายละเอียด เป็นแนวทางให้ผู้ทำงานทราบว่าใคร จะทำอะไร เมื่อไร อย่างไร , เป็นการบอกล่วงหน้าให้ผู้ทำงานแต่ละหน้าที่ทราบว่าจะต้องทำอะไร เช่น ผู้ดำเนินรายการจะพูดอะไร เมื่อไร ผู้คุมเสียงจะเปิดเพลงอะไร และไว้เพื่อค้นคว้าได้

ประเภทของบทวิทยุกระจายเสียง แบ่งได้เป็น
1. บทโครงร่างรายการอย่างคร่าว ๆ (Rundown Sheet) เป็นบทที่บอกคิวการดำเนินการระหว่างการผลิตรายการตั้งแต่ต้นจนจบว่า ใครจะทำอะไร เมื่อไร อย่างไร บทแบบนี้จะไม่มีรายละเอียดของเนื้อหาและมักเป็นการใช้และเป็นที่เข้าใจเฉพาะผู้ร่วมงาน รายการที่ใช้บทแบบนี้ คือ รายการเพลง สารคดี สัมภาษณ์ นิตยสารทางอากาศ
2. บทวิทยุกระจายเสียงแบบกึ่งสมบูรณ์ (Semi-script) เป็นบทที่มีรายละเอียดของเนื้อหา ตามลำดับขั้นตอน มีคำพูดที่สำคัญ ๆ และเสียงที่ต้องการใช้ โดยมีบางส่วนที่เปิดกว้างไว้ไม่กำหนดรายละเอียดลงไป เช่น บรายการ สัมภาษณ์ สัมภาษณ์ อภิปราย นิตยสารทางอากาศ สารคดี
3. บทวิทยุกระจายเสียงแบบสมบูรณ์ (Fully Script) เป็นบทที่มีคำพูดทุกคำพูด เรียงลำดับตามขั้นตอน เช่น บทละคร บทโฆษณา รายการสารคดี นิตยสารทางอากาศ ข่าว บทความ

ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียง
1. ส่วนหัว (Heading) จะบอกชื่อรายการ ชื่อเรื่อง / ตอน สถานีที่ออกอากาศ / ความถี่ วัน - เวลาที่ออกอากาศ
2. ส่วนเนื้อหา (Body) เป็นรายละเอียดของเนื้อหา เรื่องราว ตามลำดับ เป็นส่วนที่บอกถึง ผู้เกี่ยวข้องในรายการว่าจะต้องทำอะไร
3. ส่วนปิดท้าย (Closing or Conclusion) เป็นส่วนสรุปเนื้อหา กล่าวขอบคุณผู้ร่วมรายการ

ความรู้ความสามารถของผู้ดำเนินรายการ
1. การใช้ภาษาที่ถูกต้อง
2. การพูด - อ่านออกเสียงที่ถูกต้อง การพูด - อ่านเพื่อคนฟัง การพูดเป็นการสื่อสารทางเดียว เพราะผู้ฟังไม่เห็นหน้า เพราะฉะนั้น เสียง ลีลาการอ่านต้องดึงดูดความสนใจผู้ฟังให้ได้
3. ความสามารถในการถ่ายทอดอารมณ์ แสดงการสื่อความคิด ความหมาย
4. มีความรู้กว้างขวาง ใฝ่หาความรู้ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ อย่างละเอียดทั้งในทางบวกและลบ เพื่อสามารถเปรียบเทียบแง่คิดต่าง ๆ ได้ ติดตามเหตุการณ์รอบตัวอยู่เสมอ
5. เข้าใจงานวิทยุกระจายเสียง รูปแบบ ประเภทของรายการ
6. มีความสามารถ เข้าใจในเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องใช้งานพอสมควร

คุณสมบัติที่พึงมีของผู้ดำเนินรายการ
1. มีเสียงดี ชัดเจน
2. เชื่อมั่นในการพูดของตัวเอง ผู้ดำเนินรายการสามารถชนะใจผู้ฟังได้ด้วยน้ำเสียง เสียงที่เปล่งออกมาด้วยความมั่นใจ มั่นคงและไม่ลังเล เพราะถ้าผู้ฟังจับได้ว่าผู้พูดไม่แน่ใจในสิ่งที่พูด ผู้ฟังก็ขาดความเลื่อมใสในรายการ
3. เอาใจใส่ผู้ฟัง เรียนรู้ความต้องการ รสนิยมผู้ฟัง ผู้พูดต้องสนใจผู้ฟังโดยศึกษาปฏิกริยาจากผู้ฟังทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติหน้าที่และคิดหาเหตุผลว่าปฎิกริยาที่มีต่อเรา ต่อการทำงานของเราเป็นเพราะเหตุใด มีอะไรต้องแก้ไข ไม่ควรใช้ความชอบของตนเองวัดว่าคนอื่นต้องชอบ
4. มีไหวพริบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี งานกระจายเสียงเป็นงานที่เกิดความผิดพลาดได้ง่ายจึงประมาทไม่ได้ดังนั้นถ้าเกิดความผิดพลาดต้องรีบแก้ไข ยอมรับ เช่น ถ้าอ่านผิด ต้องรีบขออภัยและแก้ไขโดยเร็ว 5. ใจเย็น ไม่ตื่นเต้นตกใจง่าย สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี
6. มีการตัดสินใจที่ดี
7. ใจกว้าง ยอมรับฟังคำติ – ชม ไม่โกรธ เพราะสิ่งต่าง ๆ นี้เป็นส่วนสำคัญของการปรับปรุงรายการและตัวเรา
8. ตรงต่อเวลา
9. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถปรับตัวและเข้ากับคนทุกชนชั้นทุกประเภททั้งในเวลา นอกเวลาทำงาน
10. มีอารมณ์ขัน ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ จำไว้ว่าเสียงที่เปล่งออกมาเป็นเงาสะท้อนอารมณ์ผู้พูดว่ามีอารมณ์เช่นไร
11. มีความกระตือรือร้น ทำงานให้ดีเรื่อย ๆ แสวงหา ความรู้ใหม่ ๆ ปรับปรุงวิธีการพูด ไม่กล่าวประโยคซ้ำๆ
12. การแสดงออกทางน้ำเสียง การเลือกใช้คำพูด รู้จักชม คนอื่นด้วย ไม่ยกตัว จริงใจต่อหน้าที่ อย่านึกถึงแต่รายได้
13. ความอดทน สามารถอดทนต่อความจำเจ การประกาศซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง ทุกวัน การซ้อมอ่านหลาย ๆ ครั้ง และต่อสภาพวุ่นวายในการทำงาน
14. สุขภาพร่างกายและจิตใจดี รักษาอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง เพราะต้องพร้อมต่อการปฏิบัติหน้าที่ได้ทุกเวลา
15. มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ต้องรู้ว่าพูดกับใครและคิดด้วยว่าพูดอย่างนี้เขาจะรู้สึกอย่างไร จะสนใจไหม
16. เป็นพลเมืองที่ดี เป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้ฟัง
17. มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม จะทำให้งานรวดเร็วและประสานกัน ส่งผลต่อ ความสำเร็จของงาน
18. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน รับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้นจากการพูดของเรา รับผิดชอบต่อผู้ฟังของเรา
19 มีความสุภาพด้านการใช้ภาษาพูด เสียงที่สุภาพ กริยาอาการ เหล่านี้เกิดจากการสำรวมความคิด อารมณ์ และการพูดคุยที่ถูกกาลเทศะ
20. มีสายตาที่ว่องไวและแน่นอน สามารถอ่านและดูเวลาไปพร้อม ๆ กันได้

การดำเนินงาน จะมีลักษณะเป็นรูปแบบรายการใดรูปแบบรายการหนึ่งชัดเจน เช่น รูปแบบรายการเพลง รูปแบบรายการข่าว
ผู้ผลิตรายการหรือผู้ควบคุมการผลิตจะรับผิดชอบรายการในช่วงเวลาหรือประเภทรายการ
สิ่งที่ควรทราบก่อนในเบื้องต้นเพื่อวางแผนการผลิตรายการ คือ
1. วัตถุประสงค์และนโยบายของสถานีและบริษัทผู้ผลิตรายการ
2. ผู้ฟังเป้าหมาย
3. สถานี เวลาออกอากาศ ความยาวรายการ
4. ทรัพยากรที่มีอยู่ของสถานีหรือบริษัท ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ ระยะเวลา
5. ศึกษาตัวอย่างที่ดี เพื่อนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับรายการ หรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจ
6. วางแผนการผลิตรายการ
6.1 กำหนดวัตถุประสงค์รายการ เพื่อให้การผลิตรายการเป็นที่ต้องการว่าจะมุ่งนำเสนออะไรแก่ผู้ฟัง 6.2 กำหนดโครงร่างของรายการ ได้แก่ เนื้อหา ประเด็นของเนื้อหา รูปแบบรายการ
แขกรับเชิญ /วิทยากร
6.3 เขียนบท ผู้เขียนบทจะนำแนวคิดและประเด็นคร่าว ๆ หรือโครงร่างของรายการที่ได้รับจากผู้ผลิตรายการ ไปสร้างจินตนาการและเรียบเรียงออกมาเป็นข้อความ ( คำพูด ) เสียงเพลง เสียงประกอบต่าง ๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียนบท โดยการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่
- แหล่งข้อมูลบุคคล เช่น นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ
- แหล่งข้อมูลเอกสารและสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ เทปเสียง อินเทอร์เน็ต
- แหล่งข้อมูลที่เป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เช่น สถานที่เกิดเหตุ สถานที่ในท้องเรื่อง ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มานี้จะนำมาวางโครงร่างของบทว่า ในรายการมีเรื่องหรือประเด็นอะไร ลำดับเนื้อหาอย่างไร มีวิธีการนำเสนออย่างไร แต่ละช่วงรายการมีความยาวเท่าไร จากนั้นจึงเขียนบท
6.4 การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์รายการ เมื่อได้บท ข้อมูล ประเด็นคำถามหรืออื่น ๆ พร้อมแล้ว ก็ต้องมาพิจารณาอีกว่า ต้องใช้วัสดุรายการอะไร ควรเตรียมให้พร้อมก่อนการผลิตรายการ ดนตรี เสียงประกอบ เทปเสียงที่ต้องการใช้ ไมโครโฟนที่เหมาะสมกับงาน การสำรองวัสดุที่ใช้ในการบันทึกเสียงและการตัดต่อเทป การเตรียมเทปแทรก (Insert Tape) ในรายการสารคดี นิตยสารทางอากาศ สัมภาษณ์ มักใช้การบันทึกเสียงนอกสถานที่มาประกอบในรายการ เทปเหล่านี้ถ้ามีความยาวมากไปหรือไม่สมบูรณ์จะต้องนำมาตัดต่อให้ได้เนื้อหาที่ต้องการ ภายในเวลาที่กำหนด การเตรียมเทปแทรกควรบันทึกลงในเทปเสียง แยกเป็นแต่ละส่วนไว้ เพื่อใช้งานได้สะดวก โดยเขียนบอกรายละเอียดไว้ในบทด้วยว่า เทปนี้เป็นเรื่องอะไร เสียงของใคร ขึ้นต้นด้วยข้อความ / คำพูดอะไร ลงท้ายด้วยข้อความ / คำพูดอะไร
6.5 การประสานงานบุคลากร โดยเฉพาะกับแขกรับเชิญหรือวิทยากร ต้องติดต่อล่วงหน้า นัดหมายเวลา สถานที่ที่จะบันทึกเสียง กรณีรายการสด หากแขกรับเชิญหรือผู้ร่วมรายการไม่สามารถมาออกอากาศได้จะต้องทำเทปล่วงหน้าหรือไม่ หรือต้องเปลี่ยนผู้ร่วมรายการ หรือต้องเปลี่ยนประเด็นที่จะเสนอหรือไม่
6.6 จองห้องบันทึกเสียง กรณีเป็นรายการเทป
7. ขั้นการซักซ้อม (Rehearsal) การซ้อมเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตรายการ โดยเฉพาะผู้ดำเนินรายการ ผู้อ่านข่าว ผู้แสดงละครวิทยุ ต้องซ้อมการอ่านบท เพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหา ประเด็นคำถาม เรื่องราว อารมณ์ของบท ไม่ว่ารายการประเภทใดหากได้ซ้อมก่อนย่อมสร้างความมั่นใจในการทำงานทั้งสิ้น


วัตถุประสงค์การซ้อม
1. เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการพูด ไม่ประหม่า ตื่นกลัว
2. เกิดความราบรื่น ไม่ผิดพลาดบ่อย ๆ ทำให้เกิดความน่าฟัง ไม่เสียอารมณ์
3. เป็นการตรวจสอบการอ่าน ได้แก่ คำยาก คำเฉพาะ การแบ่งวรรคตอน
4. ทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหา เรื่องราวและอารมณ์ของบทหรือตัวละคร โดยใช้ลีลา น้ำเสียงจังหวะวรรคตอน ทำให้ผู้ฟังสามารถจินตนาการได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ผู้เขียนบท

ประเภทของการซ้อม
1. การซ้อมอ่านบท (Script Reading) เป็นการทำความเข้าใจเนื้อหา การอ่านออกเสียง การแบ่งวรรคตอน การแสดงอารมณ์ ความรู้สึก บรรยากาศอย่างถูกต้อง การซ้อมอ่านบทยังเป็นการตรวจความถูกต้องของภาษาและข้อมูลได้อีกขั้นหนึ่ง เนื่องจากเคยปรากฏเสมอว่า บทที่เขียนมายังขาดความถูกต้องหรือบทไม่มีความชัดเจน เช่น การส่งโทรสารหรือเป็นความผิดพลาดจากผู้เขียนบทเองก็ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นรายการประเภทใด หากได้ซ้อมอ่านบทก่อนย่อมสร้างความมั่นใจในการทำงานทั้งสิ้นยิ่งปัจจุบันการนำเสนอรายการส่วนใหญ่เป็นรายการสด ความถูกต้องของข้อมูลต้องตรวจสอบเป็นอย่างดี
2. การซ้อมแห้ง (Dry Run) เป็นการซ้อมคิวหรือกำหนดคิวว่าใครจะทำอะไรก่อนหลังอย่างไร การซ้อม ฟังความถูกต้อง การซ้อมจับเวลาบท การซ้อมแบบนี้มักไม่ใช้อุปกรณ์การผลิตใด ๆ
3. การซ้อมกับไมโครโฟน (Microphone Rehearsal) เป็นการซ้อมที่ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น ไมโครโฟนในห้องบันทึกเสียง เพื่อตั้งระดับความดัง - เบาของเสียงให้เหมาะสม หรือการซ้อมไปพร้อมการใส่ดนตรี เสียงประกอบ อย่างไรก็ตามแต่ละรายการมีความต้องการการซ้อมในระดับที่ต่างกัน นอกจากนี้หากรายการที่มีความยุ่งยาก เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตควรซ้อมการวางคิวเสียง วัสดุประกอบรายการต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนการออกอากาศ

เครื่องส่งวิทยุระบบเอเอ็มและเอฟเอ็มนั้นประกอบด้วยส่วนที่เป็นมอดดูเลเตอร์ ซึ่งเป็นวงจรที่นำ เอาสัญญาณข้อมูลไปมอดดูเลตตัวพา ผลที่ได้จะเป็นสัญญาณเอเอ็มหรือเอฟเอ็ม ที่มีความถี่ศูนย์กลางอยู่ที่ ความถี่ของตัวพา หลังจากนั้นจะถูกขยายให้มีกำลังสูงเท่าที่ต้องการ แล้วจึงส่งสัญญาณไปยังเสาอากาศ เพื่อให้แผ่กระจายเป็นคลื่นวิทยุออกไป เครื่องรับวิทยุเอเอ็มและเอฟเอ็มที่มีขายในท้องตลาดจะเป็น เครื่องรับที่เรียกว่า ระบบซูเปอร์เฮตเทอโรไดน์ (superheterodyne) โดยมีหลักการทำงานอย่างคร่าวๆ ดัง ต่อไปนี้
ส่วนแรกของเครื่องรับคือ เสาอากาศ ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงคลื่นวิทยุเป็นสัญญาณไฟฟ้าปกติสัญญาณนี้จะ อ่อนมาก สัญญาณที่ได้รับจะอ่อนลงถ้าระยะทางจากเครื่องส่งเพิ่มขึ้น เสาอากาศนี้จะรับคลื่นวิทยุจำนวน มากมายที่อยู่ในอากาศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการกรองเอาสัญญาณที่ไม่ต้องการออก เพื่อที่เครื่อง รับจะได้เลือกเฉพาะสถานีวิทยุที่ต้องการ วิธีการกรองจะใช้เทคนิคที่ขยับความถี่ของสถานีที่ต้องการไปยังความถี่ที่คงตัวค่าหนึ่ง ความถี่คง ตัวนี้เรียกว่า ความถี่ไอเอฟ (IF ย่อมาจาก intermediate frequency) ระบบเอเอ็มจะใช้ความถี่ ๔๕๕ กิโลเฮิรตซ์ และระบบเอฟเอ็มจะใช้ความถี่ ๑๐.๗ เมกะเฮิรตซ์ แล้วจึงผ่านวงจรกรองหรือฟิลเตอร์ที่ปล่อย ให้ความถี่ไอเอฟและใกล้เคียงผ่านได้เท่านั้น วงจรกรองนี้เรียกว่าไอเอฟฟิลเตอร์ วงจรที่ทำหน้าที่ขยับ ความถี่นั้นเรียกว่า วงจรมิกเซอร์ (mixer) ซึ่งทำการคูณสัญญาณที่รับเข้ามากับสัญญาณไซน์ที่สร้างขึ้น ในเครื่องรับ ความถี่ของสัญญาณไซน์ จะมีค่าเท่ากับความถี่ของสถานีที่ต้องการ บวกกับ ๔๕๕ กิโลเฮิรตซ์ (หรือ ๑๐.๗ เมกะเฮิรตซ์กรณีเป็นเอฟเอ็ม) ดังเช่น ถ้าต้องการรับสถานีวิทยุเอเอ็มความถี่ ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์ ผู้ฟังก็จะปรับปุ่มเลือกสถานีบนเครื่องรับจนหน้าปัดบอกว่า ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์ ปุ่มนี้เองจะ ไปเปลี่ยนความถี่ของวงจรกำเนิดสัญญาณไซน์ ให้สร้างความถี่ที่ ๖๕๐ + ๔๕๕ = ๑,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์วงจร มิกเซอร์จะทำหน้าที่คูณสัญญาณความถี่ ๑,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์ กับสัญญาณที่เข้ามาจากเสาอากาศ ผลของการคูณ สองสัญญาณเข้าด้วยกันจะทำให้เกิดสัญญาณสองสัญญาณ สัญญาณที่หนึ่งจะมีความถี่เท่ากับผลต่างของความถี่ ของสัญญาณทั้งสอง สัญญาณที่สองจะมีความถี่เท่ากับผลบวกของความถี่ของสัญญาณทั้งสอง

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

จุดประสงค์ของการใช้ระบบวิทยุก็คือ การส่งข้อมูลหรือข่าวสารระหว่างจุดสองจุดที่ไม่มีสายตัวนำต่อ เชื่อมกัน การส่งสัญญาณข้อมูลโดยคลื่นวิทยุนั้นจำเป็นจะต้องใช้ตัวพา (Carrier) โดยที่สัญญาณข้อมูลจะ ขี่บนตัวพาไป ตัวพามักจะใช้สัญญาณรูปไซน์ (sinusoidal signal) ซึ่งเขียนได้เป็น Asin (๒(...)ft + ๐) โดยที่ A คือ แอมปลิจูดบอกถึงความแรงของสัญญาณ f เป็นความถี่ และ ๐ คือ เฟส (phase) ขบวนการที่ทำให้ ข้อมูลขี่บนตัวพานั้นเรียกว่า มอดดูเลชั่น (modulation) หรือการมอดดูเลต ซึ่งกระทำได้สามวิธีคือ มอดดูเลชั่นบนแอมปลิจูด (Amplitude Modulation) หรือเอเอ็ม (AM) มอดดูเลชั่นบนความถี่ (Frequency Modulation) หรือเอฟเอ็ม (FM) และมอดดูเลชั่นบนเฟส (Phase Modulation) หรือพีเอ็ม (PM) ในระบบ เอเอ็มนั้น สัญญาณข้อมูลจะขี่บนแอมปลิจูดของตัวพา กล่าวคือ แอมปลิจูดของตัวพาจะมีค่าเปลี่ยนไปตามค่า ของสัญญาณข้อมูลและในระบบเอฟเอ็มนั้น สัญญาณข้อมูลจะขี่ไปบนความถี่ของตัวพา กล่าวคือ ความถี่ของตัว พาจะมีค่าแปรเปลี่ยนไปตามค่าของสัญญาณข้อมูล ส่วนระบบพีเอ็มนั้นเฟสของตัวพาจะแปรเปลี่ยนตามค่าของ สัญญาณข้อมูล ระบบเอฟเอ็มและพีเอ็มมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากความถี่และเฟสมีความเกี่ยว ข้องกัน สถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆ และสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ จะใช้ความถี่ของตัวพาที่แตกต่างกันออกไป เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณรบกวนกัน เมื่อสถานีวิทยุกระจายเสียงประกาศว่ากระจายเสียงด้วยความถี่ ๘๙.๕ เมกะเฮิรตซ์ หมายความว่า ตัวพานั้นใช้ความถี่ ๘๙.๕ เมกะเฮิรตซ์ วิทยุกระจายเสียงปัจจุบันจะเป็นแบบ เอเอ็มหรือเอฟเอ็ม