วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เครื่องส่งวิทยุระบบเอเอ็มและเอฟเอ็มนั้นประกอบด้วยส่วนที่เป็นมอดดูเลเตอร์ ซึ่งเป็นวงจรที่นำ เอาสัญญาณข้อมูลไปมอดดูเลตตัวพา ผลที่ได้จะเป็นสัญญาณเอเอ็มหรือเอฟเอ็ม ที่มีความถี่ศูนย์กลางอยู่ที่ ความถี่ของตัวพา หลังจากนั้นจะถูกขยายให้มีกำลังสูงเท่าที่ต้องการ แล้วจึงส่งสัญญาณไปยังเสาอากาศ เพื่อให้แผ่กระจายเป็นคลื่นวิทยุออกไป เครื่องรับวิทยุเอเอ็มและเอฟเอ็มที่มีขายในท้องตลาดจะเป็น เครื่องรับที่เรียกว่า ระบบซูเปอร์เฮตเทอโรไดน์ (superheterodyne) โดยมีหลักการทำงานอย่างคร่าวๆ ดัง ต่อไปนี้
ส่วนแรกของเครื่องรับคือ เสาอากาศ ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงคลื่นวิทยุเป็นสัญญาณไฟฟ้าปกติสัญญาณนี้จะ อ่อนมาก สัญญาณที่ได้รับจะอ่อนลงถ้าระยะทางจากเครื่องส่งเพิ่มขึ้น เสาอากาศนี้จะรับคลื่นวิทยุจำนวน มากมายที่อยู่ในอากาศ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการกรองเอาสัญญาณที่ไม่ต้องการออก เพื่อที่เครื่อง รับจะได้เลือกเฉพาะสถานีวิทยุที่ต้องการ วิธีการกรองจะใช้เทคนิคที่ขยับความถี่ของสถานีที่ต้องการไปยังความถี่ที่คงตัวค่าหนึ่ง ความถี่คง ตัวนี้เรียกว่า ความถี่ไอเอฟ (IF ย่อมาจาก intermediate frequency) ระบบเอเอ็มจะใช้ความถี่ ๔๕๕ กิโลเฮิรตซ์ และระบบเอฟเอ็มจะใช้ความถี่ ๑๐.๗ เมกะเฮิรตซ์ แล้วจึงผ่านวงจรกรองหรือฟิลเตอร์ที่ปล่อย ให้ความถี่ไอเอฟและใกล้เคียงผ่านได้เท่านั้น วงจรกรองนี้เรียกว่าไอเอฟฟิลเตอร์ วงจรที่ทำหน้าที่ขยับ ความถี่นั้นเรียกว่า วงจรมิกเซอร์ (mixer) ซึ่งทำการคูณสัญญาณที่รับเข้ามากับสัญญาณไซน์ที่สร้างขึ้น ในเครื่องรับ ความถี่ของสัญญาณไซน์ จะมีค่าเท่ากับความถี่ของสถานีที่ต้องการ บวกกับ ๔๕๕ กิโลเฮิรตซ์ (หรือ ๑๐.๗ เมกะเฮิรตซ์กรณีเป็นเอฟเอ็ม) ดังเช่น ถ้าต้องการรับสถานีวิทยุเอเอ็มความถี่ ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์ ผู้ฟังก็จะปรับปุ่มเลือกสถานีบนเครื่องรับจนหน้าปัดบอกว่า ๖๕๐ กิโลเฮิรตซ์ ปุ่มนี้เองจะ ไปเปลี่ยนความถี่ของวงจรกำเนิดสัญญาณไซน์ ให้สร้างความถี่ที่ ๖๕๐ + ๔๕๕ = ๑,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์วงจร มิกเซอร์จะทำหน้าที่คูณสัญญาณความถี่ ๑,๑๐๕ กิโลเฮิรตซ์ กับสัญญาณที่เข้ามาจากเสาอากาศ ผลของการคูณ สองสัญญาณเข้าด้วยกันจะทำให้เกิดสัญญาณสองสัญญาณ สัญญาณที่หนึ่งจะมีความถี่เท่ากับผลต่างของความถี่ ของสัญญาณทั้งสอง สัญญาณที่สองจะมีความถี่เท่ากับผลบวกของความถี่ของสัญญาณทั้งสอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น