วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ระดับประถมศึกษา
1. ในระดับประถมศึกษา เด็ก ๆ จะต้องรู้วิชาพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอ่านแผนที่ การเขียนตลอดจนไวยากรณ์ ดังนั้น คุณควรจะทำให้คุ้นเคยกับวิชาต่าง ๆ ที่ลูกเรียน 2. สร้างแบบฝึกหัดทดสอบ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความรู้และให้เด็กได้รับความสนุกสนาน ไปพร้อมกันเป็นต้นว่าก่อนที่ลูกของคุณจะทำข้อสอบไวยากรณ์หรือตัวสะกด ให้คุณเขียนจดหมายถึงลูก เล่าถึงสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในครอบครัว อาทิ แผนการท่องเที่ยว หรือ สถานการณ์ต่าง ๆ โดยไม่ใส่เครื่องหมายวรรคตอนใด ๆ และเขียนตัวสะกดผิดไว้หลายแห่ง จากนั้นจึงให้ลูกแก้จดหมายให้ถูกต้อง 3. ตำราระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ มีตัวอย่างคำถามข้อสอบท้ายบทเรียนแต่ละบท ให้ลูกของคุณหมั่นทบทวนบทเรียนต่าง ๆ แล้วจึงถามเขาและให้เขาฝึกตอบ 4. สอนลูกของคุณให้รู้จักฟังคำพูดสำคัญของครู ในเวลาสอน ซึ่งอาจจะออกสอบต่อไปเช่น ครูพูดว่า "ต่อไปนี้ จงตั้งใจฟัง" ครูต้องการให้นักเรียนเข้าใจตรงจุดนี้" สิ่งเหล่านี้จะเป็นเสมือน "แนวข้อสอบ" ให้จดจำไว้ทำสอบต่อไป 5. เมื่อทราบว่าจะมีการทดสอบ ให้ลูกทบทวนเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ถามลูกของคุณว่าเขาเรียนอ่อนเรื่องใดมากที่สุด แล้วให้ความช่วยเหลือเมื่อยามต้องการ


ระดับมัธยมศึกษา
1. เน้นความสำคัญในการหมั่นทำการบ้าน และหากเป็นไปได้ ให้ลูกของคุณทำการบ้านพิเศษเพิ่มเติม เพราะ ยิ่ง เขาให้เวลาทำการบ้านวิชานั้นมากขึ้นเท่าไร เขาก็ยิ่งได้รับความรู้มากขึ้นเท่านั้น 2. เตรียมตัวล่วงหน้าก่อนสอบ นักการศึกษาส่วนใหญ่เชื่อว่า "การกวดวิชา" ไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากไปกว่าการได้รับความรู้แบบชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งเด็กจะลืมหมดเมื่อสิ้นสุดการสอนดังนั้นคุณจึงควรช่วยลูกวางแผนในการทำข้อสอบล่วงหน้าโดยทบทวนเนื้อหาวิชาที่จะออกสอบอย่างเป็นระเบียบแบบแผน แล้วลูกของคุณจะมีโอกาสทำข้อสอบได้ดีขึ้น อีกทั้งยังได้รับความรู้เพิ่มขึ้นหลังจาการสอบ 3. ส่งเสริมให้ลูกจดบันทึก และร่างสรุปความเนื้อหาวิชาขณะที่กำลังเรียนจะเป็นการช่วยทบทวนบทเรียนอย่างมากเพื่อการสอบในครั้งต่อไป 4. แนะนำให้ลูกรู้จักการ "เรียนเป็นกลุ่ม" ก่อนทำข้อสอบ สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วยเพื่อนนักเรียนในก้องเดียวกันหรือสมาชิกครอบครัวที่มีความรู้ในวิชาเดียวกัน


การสอบเข้ามหาวิทยาลัย
1. ในบางประเทศนักเรียนที่ต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยต้องผ่าน การทำข้อสอบระดับมาตรฐาน ที่เรียกว่า SAT หรือ ACT เสียก่อนการที่จะทำข้อสอบได้ดี ก็จะต้องมีการเตรียมตัวศึกษาข้อสอบอย่างมีระเบียบแบบแผน นักศึกษาจะมีเวลาหลายเดือนในการเรียนและทบทวนเนื้อหาวิชาก่อนการสอบเข้ามหาวิทยาลัย คุณควรให้ลูกหลานของคุณใช้เวลาน้อยวันละ ครึ่ง ชั่วโมง ในการทบทวนเนื้อหาวิชาที่จะสอบโดยเน้นวิชาที่เรียน อ่อนเป็นพิเศษ 2. ลงทุนซื้อหนังสือติวข้อสอบให้สักหนึ่งเล่มหรือหลายเล่ม ซึ่งในหนังสือจะมีตัวอย่างคำถาม ที่จะช่วยให้เข้าใจลักษณะข้อสอบโดยรวมมากขึ้น รวมทั้งเนื้อหาวิชาที่จะออกสอบ SAT หรือ ACT ให้สักหนึ่งเล่มซึ่งในหนังสือจะมีตัวอย่างคำถามที่จะช่วยให้เข้าใจลักษณะข้สอบโดยรวมมากขึ้นรวมทั้งเนื้อหาวิชาที่จะออกสอบ 3. สอนลูกว่าจะแบ่งเวลาอย่างไรก่อนจะทำข้อสอบ เขาควรจะอ่านข้อสอบคร่าว ๆ เสียก่อน เพื่อคะเนความยาว และความยากของข้อสอบ จดว่าข้อสอบมีกี่คำถามและกี่ส่วนเพื่อที่จะแบ่ง ๆ เวลาทำข้อสอบ ทำข้อที่รู้คำตอบเป็นอย่างดีเสียก่อน แล้วจึงกลับไปยังข้อที่แทบจะทำไม่ได้หรือไม่ได้เอาเลยและพยายามรักษาเวลาด้วย เมื่อเดาคำตอบได้แล้ว จึงเลือกคำตอบข้อที่ดีที่สุดและห้ามกลับไปเปลี่ยนคำตอบ 4. ควรให้ลูกไปเรียนเพิ่มเติมตามโรงเรียนพิเศษ ที่โฆษณาว่าสอนนักเรียน ทำข้อสอบมาตรฐานได้ รวมทั้งวิธีการทำข้อสอบ และการคลายเครียด ระหว่างทำข้อสอบการทำข้อสอบเป็นประสบการณ์ที่ยากลำบากและเต็มไปด้วยความเครียดสำหรับนักเรียนในทุกระดับชั้นการศึกษา ในฐานะที่เป็นพ่อแม่ คุณควรจะช่วยลูกของคุณอย่างดีที่สุด โดยการช่วยสร้างความมั่นใจ และความนับถือตนเองให้แก่ลูกของคุณ ทั้งนี้จะทำให้เขาแสดงความสามารถออกมาได้อย่างเต็มที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น